top of page
  • Writer's picturemie dyasha wong🍦

A film student's dream as a transfer applicant to Maryville College & U of Idaho (UG) 🇺🇸

Updated: Apr 9, 2023

🙏 สวัสดีค่ะ 😊

พอดีมี่เพิ่งมีไฟจะกลับมาอัพบล็อคอีกรอบนึง เพราะว่าช่วงนี้ปิดเทอมแล้วก็ไม่มีอะไรทำ บวกกับหายเหนื่อยจากการเรียนปี 2 ที่จบไปแล้วด้วย (ใช่แล้วจ้า เทอมที่จะถึงในปีการศึกษา 2021-2022 ก็คือจะขึ้นปี 3 แล้ววววว 😇 ไว้เขียนบล็อคนี้จบแล้วจะไปเขียนรีวิวการเรียนปี 2 เทอม 3 ให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกันจ้าาา 😉) ก็เลยอยากมาแชร์เรื่องราวที่ลองตัดสินใจ applied ไปที่ Maryville College ซึ่งเป็น Libearal Arts College ตั้งอยู่ที่เมือง Maryville รัฐ Tennessee มามากกว่า 200 ปี และ The University of Idaho ที่เมือง Moscow รัฐ Idaho ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1889 หรือ 132 ปีก่อนมาแล้ว ที่อเมริกานั่นเองค่า ❤️

เรื่องของเรื่องก็คือช่วงปิดเทอมมีน้องคนนึงที่เรียน MU เหมือนกันมาถามเรื่องการ transfer ไปที่ u/liberal arts college ที่อเมริกาแล้วตัวมี่เองเคยมีประสบการณ์ตรงนี้พอดี และเพิ่งผ่านมาไม่นาน เลยรู้สึกว่าเออ มาเล่าดีกว่า ถือว่าเล่าให้น้องเขาฟังด้วย แล้วก็เล่าให้น้อง ๆ ที่สนใจด้วย เนื่องจากกระแส "โยกย้าย" ตอนนี้ค่อนข้างมาแรง อาจทำให้เด็กไทยบางคนอยากจะ transfer ไปเรียนที่ต่างประเทศด้วย 😂 ใครใครอ่าน จงเข้ามาอ่านกันน้า แถมเรื่องความรู้แบบ insight แบบจัดเต็มจ้าาา 🇺🇸

🎬 มี่ขอแนบ cover ไว้ตรงนี้แล้วกันนะคะ 🙏

📚 สำหรับ major หรือสาขาที่มี่สมัครก็คือจะเน้นไปทางสาย arts หรือด้าน communication นะคะ ^^

- Bachelor of Arts (BA) in Film and Television Studies (BA Film & TV) ของ The College of Letters Arts and Social Sciences, Department of Modern Languages and Culture (MLC), The University of Idaho (main campus), Moscow, Idaho 🏕 ที่เลือกสาขานี้เพราะอย่างที่ทุกคนรู้กันว่าเรามาสาย arts และ film เพราะเราชอบด้วยและรู้แล้วว่าชอบจริง ๆ นะ เลยโอนเอียงมาสายเฉพาะเลย

- Bachelor of Arts (BA) in Writing Communication ที่ Maryville College, Maryville, Tennessee 🏞

ที่นี่ที่เราเลือก Writing Communication เพราะว่าจะเป็นสาย arts+film screenwriting หรือด้าน media หรือสื่อที่เน้นมาทางการเขียนเพื่อการสื่อสารมากกว่า แล้วเราเป็นคนชอบเขียน creative writing ด้วย ก็เลยเลือกสาขานี้ เพราะที่ Maryville จะไม่มีสาย film โดยตรงค่ะ อีกสาขานึงก็จะเป็น theatre เลยมากกว่าซึ่งเราเคยเรียน basic acting แล้วไม่ค่อยชอบการแสดงออกเยอะ ๆ เท่าไหร่

 

ทั้งนี้มี่ขอแนบเกร็ดความรู้เล็กน้อยไว้ให้กับท่านผู้อ่านไว้ด้วยนะคะ คาดว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ แต่ว่าอยากให้เข้าใจระบบการศึกษาระดับปริญญาตรีของฝั่งอเมริกากันมากขึ้นอีกนิดนึงค่า 😊 อาจจะมีเขียนเรื่องไร้สาระ, ประสบการณ์/ความคิดเห็นส่วนตัวที่พบเจอมาหรือว่าความชอบส่วนตัวไปบ้าง แต่หวังว่าท่านผู้อ่านจะอ่านกันแบบเพลิน ๆ กันนะคะ ❤️

มี่แชร์ประสบการณ์ของมี่เองผ่านมุมมองเด็กที่เรียนในระบบการศึกษาไทย (ภาคไทย) มาตอนประถมถึงม.6 ในสายศิลป์ฝรั่งเศส แล้วมาต่อ international college หรือหลักสูตรนานาชาติที่ Mahidol University International College (MUIC สาขา Media and Communication, Creative Content Concentration, Film Production Major Electives) ค่ะ ด้วยความที่บล็อคนี้เป็นมุมมองหรือความเห็นจากคนใดคนหนึ่งเท่านั้น มี่แนะนำให้อ่านเป็นวิทยาทานนะคะ เก็บเป็นความรู้แต่ว่าอย่าเหมารวมหรือว่า stereotype กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนะคะ 😊

ถ้ามีส่วนไหนที่อาจจะอ่านแล้วไม่ถูกใจ ต้องขออภัยไว้ล่วงหน้านะคะ 🙏 บางตอนอาจจะมีความจริงที่อาจยากที่จะรับความจริงตรงนั้นบ้าง แบบว่า brutally honest เลย ตอบและให้ข้อมูลแบบโลกไม่สวยค่ะ แต่มี่มองว่ามันเป็นประโยชน์ค่ะ ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้รู้สึกไม่ดีอย่างไรนะคะ ขอโทษล่วงหน้าด้วยค่ะ 🙏

สำหรับเรื่องการเตรียมตัวต่าง ๆ มี่เคยมีเขียนไว้แล้วหลายเรื่อง สำหรับคนที่สนใจจะอ่านเพื่อเก็บ detail หรือรายละเอียดแบบจิปาถะ มี่แนบลิงก์ไว้ให้อยู่ในช่อง snippet ข้างล่างเลยแล้วกันนะคะ (เข้าไปอ่านแล้วแชร์ให้เพื่อน ๆ ได้ตามสบายเลยค่า)

สำหรับในเรื่องของการเตรียมตัวเพื่อที่จะเรียนต่อในระดับปริญญาตรี (undergraduate) ในหลักสูตรอินเตอร์ (นานาชาติ) ในประเทศไทยหรือว่าจะใช้ยื่นเข้ามหาวิทยาลัยที่ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักก็ได้เช่นกันค่ะ 😇
🇬🇧 รีวิวการสอบ IELTS academic ด้วย overall 6.5 (each component 6.5 แต่ writing 5.5), การเตรียมตัวที่ Westminster International และการสอบ IELTS แบบ computer-delivered ที่ IDP Silom: ลิงก์ 
📨 25 facts ที่ต้องรู้เกี่ยวกับ IELTS Academic ก่อนสอบจริงและรีวิวการสอบ IELTS จากเพื่อนที่ได้ overall 6.5-7.0: ลิงก์ 
📚 ประสบการณ์โดยตรงที่มี่สมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาตรีที่ Mahidol University International College (MUIC) โดยติด IC ทั้ง 2 รอบโดยรอบแรกใช้วุฒิ GED และรอบที่ 2 คือวุฒิม.6 ในสาขา Media & Communication (MUIC Media Com) หรือนิเทศอินเตอร์: ลิงก์ 
🎬 การยื่นเพื่อศึกษาต่อในสาขา B.Media.Com Screen Practice & Production และ BA Film & Theatre ที่ Macquarie University (Sydney, Australia) & Victoria University of Wellington (Wellington, New Zealand): ลิงก์ 
🎓 ชีวิตของมี่กับการเรียน MUIC Media Com (นิเทศอินเตอร์) ฉบับเด็กเก็บเครดิตนรก และรีวิววิชาต่าง ๆ พร้อมรีวิว gen ed จากเพื่อนที่เรียน BBA (ใครสนใจจะเข้า MUIC ห้ามพลาดนะคะ): ลิงก์ 
🇺🇸 รีวิวการสอบ Duolingo Englist Test ฉบับผู้มาก่อนกาล (สอบตอน 2018 ก่อนที่ DET จะถูกเอามาใช้ในไทยและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างแพร่หลายตอนช่วงโควิด) ได้คะแนน 63/100 ในตอนนั้นหรือ 115/160 ในปัจจุบัน: ลิงก์ 
 

😊 มี่ขอเกริ่นเบื้องต้นก่อนแล้วกันนะคะ จะได้เข้าใจกันมากขึ้นค่าา 😊

ภาพของ The University of Idaho และเมือง Moscow, Idaho

(CR. UIdaho, Livability & Pinterest)

 

บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงเลือก The University of Idaho (UIdaho หรือ U of I หรือจะเรียกกันว่า Vandals) หรือ Maryville College (MC Scots) ที่รัฐ Tennessee มันน่าจะเป็นรัฐที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือเปล่า มันคือรัฐอะไร (ไม่เคยได้ยิน)? 🤔

🍦 ส่วนตัวมี่เป็นคนสนใจรัฐที่ไม่ค่อยมีคนไทย ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม 5555 ที่รู้มาคือทั้ง 2 รัฐนี้ธรรมชาติเยอะละสวยมากกกก เราเป็นคนชอบที่ธรรมชาติ ป่าเยอะ ๆ ถ้ามีหิมะด้วยจะดีมาก เพราะทนร้อนไม่ได้ ไม่ชอบอากาศร้อน บวกกับเคยไปลองใช้ชีวิตกับบรรยากาศของ Spring ที่อังกฤษและนิวซีแลนด์มา คนไทยส่วนมากอาจจะหนาว แต่คือเราชิวมาก ตอนไปอังกฤษคือเสื้อ sweater ตัวเดียวคือรอด ตอนนั้นอากาศประมาณ 0 กลางวันจะประมาณ 5-7 องศา แต่ไม่เกิน 10 ส่วนของนิวซีแลนด์คือก็แต่งแบบเดียวกันแต่ถ้ามันร้อนก็ถอด sweater ออกละใส่แค่คอกลมตัวเดียวเหมือนเดินอยู่เมืองไทย 5555 ละก็ค่าครองชีพถูก (ถ้าเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ) อากาศโอเค ละบวกกับตอนนั้นส่องไปส่องมา ยังไงไม่รู้คือไปเห็นพอดีว่าทาง Idaho ไม่เก็บ application fee ด้วย และมี scholarship ให้ international students ที่ qualified ด้วย (ทุน Invitation to Idaho Scholarship) บวกกับตอนนั้นดูเรื่อง spinning out (series ใน Netflix ที่ Kaya Scodelario กับ Willow Shields มาเล่น เราเศร้ามากที่ ss 2 ไม่ถูกทำต่อออออ แงงง) ละ setting ของเรื่องมันอยู่ที่รัฐ Idaho ก็เลยสนใจ 555 บวกกับว่าเราเคยเรียนและเล่น figure skating มาก่อนแล้วเห็นเพื่อน ๆ ที่อยู่อเมริกาจะไปเล่นกันที่ลาน Sun Valley Outdoor Ice Rink ก็อยู่ที่รัฐนี้ แต่จริง ๆ ขับรถห่างจากกันประมาณ 7-8 ชม. ก็คือขับจาก Moscow, Idaho ไป Seattle, Washington ก็คือแค่ 4.30 ชม. ส่วน Spokane อีกเมืองสำคัญของรัฐ Washington ห่างจาก UIdaho ไปประมาณ 1.30 ชม. ก็เลยแบบเออ มันก็ดูดี ก็เลยลองสมัครดู ไม่เสียหายอะไร ก็เลยจัดปายยยยย 😃 ตอนนั้นเราเห็นรูปมหาลัยกับเมือง Moscow ของ Idaho แล้วแบบ หู้ยยยย เมืองสวยมาก ดูสงบ ธรรมชาติเยอะ สวยทุกฤดู เราชอบสนใจเมืองที่คนไม่ค่อยไปกันอะ แนวติสท์แตกหน่อย อินดี้นิด ๆ ชอบอยู่คนเดียว ชอบไปอยู่ที่สงบ ๆ เงียบ ๆ อะ แบบตั้งใจไปเรียน, หา inspiration และก็ไม่ต้องการ distractions จากสิ่งที่เรากำลัง focus ด้วย คือคิดเผื่อไปไกลมาก ๆ แล้ว 🥲😂 เลยขออนุญาตแนบรูป UIdaho และเมือง Moscow, Idaho ข้างบนไว้ให้ดูแล้วกันน้า 🙏

ภาพ Maryville College ตามฤดูต่าง ๆ

(CR. Maryville College & The Highland Echo)

🏕 ส่วน Tennessee มี่คิดว่าน่าจะมีคนเคยได้ยินมาบ้างแล้ว รัฐนี้ Airbnb สวย ๆ เยอะมาก ธรรมชาติก็สวยแต่ว่าเรารู้สึกว่าสวยแบบ Fall, Spring เยอะ ๆ อะ แบบใบเมเปิ้ลหรือใบไม้สีส้ม ๆ แดง ๆ จะเยอะ ทีนี้เราเลยแบบอุ๊ย ว่าบาป เมืองสวยนะคะ แล้วตอนนั้นเห็นเว็บ Dek D ลงเรื่องทุนเต็มจำนวนของ Maryville College พอดีก็เลยเข้าไปศึกษาแล้วก็พบว่า... เห้ย เรา meet requirement หมดเลยนี่นา ลองดูก็ไม่เสียหาย ก็เลยสมัครทุนเต็มจำนวนไป (ทั้งที่ถือว่าสถานะเป็นเด็ก transfer แล้ว แต่ทาง admissions officer บอกว่าสมัครได้นะ แต่เขาจะ prioritise เด็ก first-year ก่อนนะ) สุดท้ายก็รู้สึกว่า มี opportunity ก็ควรจะ give it a try นะ ไม่เสียหายอะไรนี่ ก็คือสมัครทุนเต็มจำนวนไปแต่ไปได้ทุน International Maryville College Scholarship แทน (ทุน 21,000 USD ต่อปีและ renewable ให้ 4 ปี) แต่ตอนนี้รู้สึกว่าจะเปลี่ยนชื่อทุนไปแล้วนะ โดยทุนนี้จะดูจาก CGPA จากผลการเรียนเราที่มีให้เขาจ้า ถ้าผลการเรียนดีมีชัยไปกว่าครึ่งน้า 😉 กิจกรรมอะไรที่เคยทำก็ใส่ไปเลย ผลภาษาถ้ามีแล้วก็ดีไปอีกน้า

นี่คือภาพของ CHL Treehouse ที่เราไปเจอใน IG มา 🏕 CR. cfunk44

นั่นแหละ คือส่วนตัวมี่มองว่า CHL Treehouse ที่รัฐ Tennessee คือสวยมาก อยากไป 55555 ดู tranquil ละก็ peaceful ดี จะเก็บตังค์ไปเที่ยวให้ได้ อิอิ

 

❓ Liberal Arts College คืออะไร ต่างกับ Public University, Private University/College หรือว่า Community College ยังไง?

✅ สำหรับใครที่อยากอ่านแบบเต็ม ๆ เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ แนะนำให้อ่านของ Niche Blog ได้เลยจ้า หรือฉบับภาษาไทยที่คุณ Pauline เคยเขียนไว้ก็คือนี่ (คุณ Pauline เขียนไว้ดีมาก ๆ รายละเอียดเยอะมาก credit ทั้งหมดให้คุณ Pauline นะคะ ไม่ได้ copy บทความมาอย่างใดค่า)

🍦 Liberal Arts College ที่ตั้งอยู่ในอเมริกาจะต่างจาก University ตรงที่ว่าจะเป็นการเรียนแบบคลาสเล็ก ๆ มากกว่าคลาสละ 200-300 คน ในขณะที่ Liberal Arts College จะเรียนกันแค่ 15-20 คน หรือว่าคลาสใหญ่หน่อยก็จะประมาณ 20-40 คน แต่ว่าจะไม่เกินจากนี้, U ใหญ่ ๆ บางที่จะใช้ Teaching Assisstants (TA) สอนซะมากกว่า ทำให้บางทีเราติดต่อหรือได้รับ attention จาก professors ได้น้อยกว่า, การเรียนการสอนจะเน้นเชิง critical thinking และ discussion (ก็คือเน้นหนักทั้งเรื่อง writing และ speaking) รวมไปถึงเน้นการเรียนการสอนแบบข้ามศาสตร์ก็คือพวก natural science, humanities, social science มาจับรวมกันเป็นต้น Liberal Arts College ที่ดัง ๆ ในอเมริกาก็คือ Amherst College, Pomana College, Bowdoin College หรือ Barnard College ที่มี affiliate กับ Columbia University ที่เป็น 1 ในมหาวิทยาลัยเครือ Ivy League ด้วย และที่สำคัญคืออัตราการได้ financial aid ค่อนข้างสูงถ้าเทียบกับมหาวิทยาลัยทั่วไป สำหรับในประเทศไทย ที่เป็น liberal arts education ก็คือที่ ๆ มี่กำลังเรียนอยู่ในปัจจุบันก็คือ Mahidol University International College (MUIC) จ้า แต่ในส่วนของ liberal arts college ในส่วนของ liberal arts college ที่มี่สมัครไปก็คือ Maryville College ที่รัฐ Tennessee นั่นเองค่า ตอนแรกก็คือมี่ลองสมัครทุนเต็มจำนวนของ International Diversity Scholarship ไปด้วย แต่ด้วยความที่สมัครไปในฐานะ transfer student จะได้รับการพิจารณาหลังเด็กที่สมัครมาแบบ first-year student ค่ะ แต่มันก็ไม่เสียหายอะไร เพราะถึงไม่ได้ทุน full-ride ก็ยังสามารถได้ financial aid อื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนค่าเรียนได้อยู่ และสามารถสมัครทุนเพิ่มเติมได้ หากผลการเรียนเทอมนั้นดีมาก หรือว่าเข้า sorority หรือ club ใด ๆ ของทาง college หรือ university และทำหน้าที่ต่าง ๆ หรือได้รับทุนสนับสนุนจากทาง sorority/club ด้วยตัวเอง

 

❓ ทุนของอเมริกาเพื่อเรียนต่อปริญญาตรี พิจารณาจากอะไร แล้วถ้าเรียนไม่เก่ง จบโรงเรียนไทย ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่อยากไปต่อต่างประเทศ มีสิทธิได้ทุนหรือเปล่า?

🍦อะ เตรียมเวลาอ่านเลยนะเพราะอันนี้ตอบแบบยาวมาก ทุนของอเมริกาส่วนมากจะแล้วแต่ u ว่าเขาพิจารณาจากอะไรบ้าง แล้วแต่ ranking ของ u ด้วย ถ้า u ท็อปมาก ๆ แบบ Ivy League, Stanford, UCLA, UCB, USC, NYU, U of Wisconsin-Madison, MIT, Caltech, WashU (St. Louis), Duke, Tufts, Wesleyan, U of Chicago, Northwestern, Vanderbilt, UMich (Ann Arbor) ก็คือต้องเกรดสูงมาก (ไม่เรียนกันแค่ high school ธรรมดาแต่เก็บ AP ด้วย เก็บกันที 8-11 ตัวก็คือเรื่องปกติ) พร้อมคะแนน SAT 1550 (ACT 35) หรือ perfect score 1600 (ACT 36) ส่วนมากก็คือคนเป็น valedictorian เรียนดี กิจกรรมเด่น เล่นกีฬาได้ ดนตรีก็ได้ มันจะต้องเก่งแบบ extremely/highly competitive อะ หรือถ้าเป็นเด็กไทยเหล่านี้ก็คือระดับเด็กทุน king, ทุนกพ. หรือทุนของหน่วยงานรัฐบาลต่าง ๆ ซึ่งนับว่าเป็นหัวกะทิของประเทศ (บางคนก็เคยแข่งพวก olympic วิชาการมาด้วยแล้วชนะเลิศงี้) แต่เด็กทุนไทยก็ไม่ใช่ว่าได้แล้วเข้าไปเรียน UG ได้เลยนะ ต้องโดนปรับพื้นฐานที่ Prep School ในอเมริกาอีก 1 ปี เช่น Phillips Academy, Phillips Exeter Academy แล้วต่อ UG อีก 4 ปี ส่วนถ้าได้ไปเรียนที่อังกฤษจะต้องเรียนระดับ A-Level (Sitxth Form) ใหม่ 2 ปีแล้วต่อตรีอีก 3 ปี ระยะทุนจะอยู่ที่ 5 ปีทั้งคู่แล้วจะต้องกลับมาใช้ทุนที่ไทยอีกกี่ปีก็ว่ากันไป ที่ต้องทำแบบนี้เพราะว่าเด็กไทยจะได้คุ้นชินและปรับตัวก่อนเข้าไปเรียน degree อีก 3-4 ปีด้วย

(ว่าง่ายก็คือ... การศึกษาบ้านเรามันห่วยอะ ต่างประเทศไม่ค่อยยอมรับวุฒิไทยกันเท่าไหร่ ยกตัวอย่างนะอย่างเยอรมนีงี้ แค่มี Abitur หรือวุฒิ high school แล้วผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษดีก็คือใช้ bac ยื่นได้เลย ถ้าเด็กไทยอยากต่อป.ตรีที่เยอรมนี ก็คือต้องมีวุฒิม.6 แล้วไปเรียน foundation ที่เยอรมนีอีกปี ถ้าสอบผ่านก็ยื่นเข้า UG ได้เลย มันเลยกลายเป็นว่าในไทย ถ้าบ้านไหนมีฐานะหน่อย ค่าเทอมไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ส่งลูกเรียน international school กันหมด เพราะระบบการศึกษานั้นคุ้มค่ากับการลงทุน)

แปะ meme ไว้ให้ นี่เก็บไว้เตือนตัวเองเหมือนกัน 😂 ใบปริญญาไม่ใช่ทุกสิ่งก็จริง แต่ถ้ามาจากประเทศไทยมีไว้ก็อุ่นใจกว่าเด้อ 😉

🍦เรื่องทุน ด้วยความที่มันถือเป็นเงินชนิดหนึ่ง เป็นสิ่งที่มีมูลค่าอย่างหนึ่ง อยากได้ทุนก็ต้องมีความสามารถระดับหนึ่ง หรือถ้าจะเอาทุนเต็มคุณก็ต้องเก่งมาก เพราะทาง u เขาก็อยากได้และอยากให้คนที่สามารถเอาความรู้ไปพัฒนาประเทศหรือคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เขาให้มาในรูปแบบทุน หรือสร้างชื่อเสียงให้กับ alma mater ของคุณได้ ขอบอกแบบไม่โลกสวยก็คือ "ถ้าคุณเก่งแต่คุณอาจจะขาดแคลนทุนทรัพย์ คุณก็สามารถหาทุนได้ ถ้าคุณเก่งปานกลางแต่พอมีทุนทรัพย์ ทุนที่ได้อาจจะไม่ใช่ทุนเต็มแต่มันก็แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายคุณได้บ้าง แต่ถ้าคุณไม่เก่งเลย คุณต้องมีเงิน (จำนวนหนึ่งหรือจำนวนมาก) เพื่อที่จะเข้าไปเรียนได้" ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างมหาวิทยาลัย Ivy League มันจะมีคน 2 ประเภทที่เข้าไปเรียนก็คือ "เก่งมาก เก่งขนาดนี้ยังต้องเข้ามาเรียนอีกหรอ?" ซึ่งพวกนี้ก็คือ Mark Zuckerberg เก่งเกินเรียนแล้ว สุดท้ายก็เลย drop out เลย (ที่ช่วงนึงชอบมี losers เอาไปเขียนว่า "ไม่ต้องมีใบปริญญาก็ประสบความสำเร็จได้" แต่... อย่าลืมว่า HE IS A HARVARD DROPOUT NOT A HULULULU COLLEGE DROPOUT นะ มีมนี้ต่างชาติก็เล่นกันปกติ 555) กับอีกประเภทคือ "เข้ามาได้ไงอะ งง" พวกนี้ก็คือลูกคนมีตังค์ เศรษฐี ลูกดารา ลูกเซเลบตั่ง ๆ ที่พ่อแม่บริจาคเงินจำนวนหลักสิบล้านดอลลาร์เพื่อให้ลูกเข้าไปเรียนที่ Ivy League หรือบรม top 30 u ของอเมริกา (list คนดังที่เกี่ยวข้องกับ college admissions scandal และตัวอย่างลูกคนดังอย่าง Sophia ที่เกี่ยวข้องกับ college bribery scandal ที่ Carnegie Mellon University ลองไปอ่านดู แล้วจะรู้ว่ามันมีจริง ๆ แบบในหนังหรือซีรียส์เรื่อง "ฉลามเกมส์โกง" อะ) คือมันก็มีคนที่เก่งจริง ๆ และพ่อแม่เป็นคนดัง แบบ Malia Obama เป็นลูกสาวคนแรกขออดีตประธานาธิบดี Barack Obama ที่ได้เข้าเรียน Harvard University ด้วย (ตอนนี้อัตราการรับต่ำมาก จาก 2-3 ปีก่อนยัง 5% ตอนนี้เหลือแค่ 3.4%) ส่วน Sasha Obama ได้เรียน UMich หรือ University of Michigan (Ann Arbor) ซึ่งเป็น campus หลักและเป็นเข้ายากที่สุดด้วยอัตราการรับแค่ 22.9% ซึ่งถือว่าเป็น top 30 u ใน USA เช่นกันจ้า 👍

🍦 ถ้าเรียนไม่เก่งเลยแบบได้ 1.5 หรือ 1.9 อันนี้ยังไงก็ไม่สามารถหาทุนได้แน่นอนเพราะว่าผลเฉลี่ยมันน้อยมากและไม่สามารถแสดง ability หรือ academic performance ที่ดีได้เลย ส่วนประมาณ 2.0-2.5 ส่วนตัวเรามองว่ามันยังน้อยไปและไม่พอที่จะ prove potential ของตัว candidates เองว่ามี ability ตรงนี้ไหมที่จะเรียนและรักษาเกรดให้มัน renewable ได้ ส่วนมากทุนก็เลย require กันที่ขั้นต่ำ 3.0 หรือบางทุนอาจจะ 3.5 หรือ 3.8 เลยก็ได้เช่นกัน ส่วนตัวเรายังไม่ได้ทุนแบบ full-ride เพื่อเรียนระดับ degree แต่ส่วนมากจะเป็น partial scholarships หรือ awards ที่เอามาหักกับค่าเรียนแบบเต็มจำนวนที่ทำให้จ่ายเงินแบบสบายกระเป๋าขึ้นซะมากกว่า ก็เลยให้คำแนะนำได้เท่าที่จะทำได้จากประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเอง

🍦ส่วนเรื่องภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง แต่อยากไปต่อต่างประเทศ ถ้าสอบ IELTS แล้วผลสอบไม่ถึงที่กำหนด ทาง u ต่าง ๆ ถ้าเป็น u ระดับประจำรัฐตอนนี้จะมี English pathway ให้เรียนเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของ international students อาจจะเรียน 1-3 เทอมแล้วแต่ระดับภาษาอังกฤษที่คุณมีค่ะ (จ่ายเงินค่าเรียนเพิ่มนะคะ) แต่การจะต่อต่างประเทศ แนะนำให้สอบให้ถึง English requirement ของ u จะดีกว่าเพราะถือว่าเป็นความพร้อมด้านภาษาของตัวคุณเองค่ะ ถ้าไม่ไหวจริง ๆ เรียนเพื่อปรับภาษาก่อนก็จะดีกว่า เพราะว่าถึงไป fluke สอบได้แต่สกิลจริงไม่มี ก็ไปไม่รอดเช่นกันค่ะ (fluke ของเราก็คือสอบ IELTS มา 6-8 รอบแล้วถึงได้คะแนนที่ต้องการ เพราะอันนี้เราว่าที่มันขึ้นอะ ไม่ใช่สกิลแต่เป็นความ fluke มากกว่า เพราะมันจะ obvious เลยว่าถ้าก่อนหน้านั้นสอบมา 5 รอบยังได้ 5.5 แบบ stuck อยู่ตรงนั้น แล้วสอบรอบที่ 6 ได้ 6.0 อะ มันจะชัดเจนเพราะคะแนนทั้ง each element และ overall จะไม่ได้ขึ้นแบบโดดแต่ขยับแบบ 0.5 เท่านั้น อันนี้คือประสบการณ์ตรงจากการที่ติดต่อสื่อสารกับ prospective students ที่สนใจจะเข้า MUIC ด้วย) และที่เราเห็นชัดเจนอีกอย่างคือ เด็กไทยชอบใช้วิธีปั่น passive skills อย่าง listening & reading ให้ได้ 7.5-9.0 แต่พอมา active skills อย่าง writing & speaking ดร็อปเลยได้ 5.5-6.0 เองอะ แต่ overall มันไป 7.0-7.5 เพราะได้ passive เต็ม อันนี้จะบอกว่าแอบอันตรายนะ (นี่เคยเจอคนสอบได้ overall 6.5 พาร์ทอื่น 7.0+ แต่ speaking ได้ 4.5) เพราะถ้าเรียน university/liberal arts college ของอเมริกาหรือประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เขาจะเน้น active skills เยอะมาก คือคุณต้อง discuss กับ classmates ได้และต้องใช้ academic writing เพื่อเขียน essay ได้นะ อย่างกรณีเราที่ได้ overall และพาร์ทอื่นยกเว้น writing ได้ 6.5 แต่ writing 5.5 ก็คือเทอมแรกเข้ามาเรียนที่ MUIC ยังโชคดีได้เรียนวิธีการเขียน essay ซึ่งเป็นประโยชน์แล้วช่วยเหลือเราได้เยอะมาก ๆๆๆๆ ก็คือจะรู้สึก struggle น้อยหน่อย เพราะจะเริ่มชินแล้วเข้าใจหลักการเขียนมากขึ้น อย่างของ major เรา บางวิชาก็จะมีสอบ oral exam ด้วยคือต้องอ่านและศึกษามาแล้วเข้าห้องไปสอบ oral exam กับอาจารย์อะ มันไม่ใช่แค่เรื่องการเขียนอย่างเดียวด้วย แต่มันต้องพูดให้ได้ แสดงออกมาให้ได้ว่าเราเข้าใจทั้งเรื่องที่อาจารย์สอนและ academic paper ที่เราเลือกมาแบบนี้นะ เราอ่านมาจริง ๆ นะโดยการตอบคำถามที่ถูกถามจากสิ่งที่เราอ่าน หรืออย่าง basic acting ก็ต้องสามารถคิด conversation ออกมาได้ ตามคำที่อาจารย์ random มา ทำให้จากคนละเรื่องเป็นเรื่องเดียวกันได้อะ มันก็จะประมาณนี้

ตัวอย่างงานเขียน essay ของเราตอน EC 2 ที่ MUIC: link 
ตอนนั้นมี่ได้หัวข้อ racial issues เช่น racial discrimination หรือ racism ก็คือต้องเขียนออกมาให้ได้ คือมันไม่ใช่การเรียน academic writing อย่างเดียวอะ แต่เหมือนการสอน culture อย่างหนึ่งด้วยในความคิดเรา topic นี้สอนให้เราเคารพคนอื่นที่ attitude หรือ mindset ของเขา หรือการเคารพคนจาก inside อะ ไม่ใช่ outside อย่าง appearance หรือ race ของเขาหรือ bias ของเรา
งานเขียน academic ก็จะประมาณนี้แหละ ลองดูไว้ได้ (เราเรียน academic writing แบบ APA จ้า)

🍦แต่ข้อมูลเรื่องทุนเต็มจำนวนของต่างประเทศ มี่เองก็พอมีบ้าง เพราะว่าน้องสาวเราเรียนอินเตอร์ระบบ UK (English National Curriculum) ก็เลยต้องศึกษาไว้ให้น้องแล้วดูว่าน้องจะไปเรียนต่อระดับม.ปลายระบบไหนเพื่อที่จะไปให้ถึง career goal ของเขา ระหว่าง International Baccalaureate (IB Diploma), American Curriculum+Advanced Placement (AP) หรือว่า SIxth Form (IGCSE+A-Level) ซึ่งเด็กที่จบระบบนานาชาติแบบที่กล่าวมา (นานาชาติแบบหลักสูตรของต่างประเทศนะจ๊ะ ไม่ใช่ระบบ EP ของภาคไทยที่ตั้งชื่อเพื่อสวมรอยเป็น international... อันนั้นทางต่างประเทศไม่นับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติค่ะ เพราะไม่มี accredited หรือองค์กรด้านการศึกษายอมรับ) อย่าง IB จะเป็นของ IBO ประเทศสวิตเซอร์แลนด์, Advanced Placement (AP) ของ College Board ที่จัดสอบ SAT หรือ A-Level ที่มีหลาย exam boards ทั้งของ Cambridge CIE/Edexcel ที่ในไทยจะใช้กันแบบแพร่หลายแต่ถ้าไปเรียนที่อังกฤษมี exam boards เยอะกว่านี้อีก ซึ่งส่วนนี้ที่เราอธิบายเพราะคนไทยยังเข้าใจผิดกันอยู่มาก "international curriculum ของโรงเรียนนานาชาติ ≠ international english programme ของโรงเรียนไทย, EP หรือ bilingual จ้า" และเด็กที่เรียน international curriculum มาจาก top international schools ในไทยก็จะมี counsellor คอยแนะนำเรื่อง university pathway อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจะไม่ขอพูดถึงตรงนั้นแล้วกัน เนื่องจากเขาได้เปรียบเด็กโรงเรียนไทยทั้งในเรื่องของการเตรียมตัวเข้ามหาลัยฯ, ผลการเรียน (diploma) ที่เป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก, near-native spearker level ในเรื่องของภาษาอังกฤษ (เด็กไทยหรือชาติอื่นที่เรียนอินเตอร์มาตั้งแต่เด็กจะได้เรียนวิชาในหลักสูตรเป็น EFL หรือ English as First Language ซะส่วนมากอยู่แล้ว สามารถใช้ตรงนั้นเป็น proof เรื่องภาษาได้เลยเพราะว่าตัวเนื้อหานั้นออกแบบมาให้สำหรับเจ้าของภาษาหรือเด็กที่เรียนมาแบบเทียบเคียงเจ้าของภาษามาโดยตรง ซึ่งที่เคยอ่านมาหลักสูตรภาษาอังกฤษของไทยก็เทียบไม่ติดเลยสักนิดเดียว แต่ถ้าใครย้ายมามาเรียนระบบอินเตอร์ตอน secondary school ก็จะไปอยู่ ESL หรือ English as a Second Language ค่ะ 😎

เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นเพื่อเข้าเรียนต่อของ Maryville College 😊 ปล. ที่เป็นชื่อ Mie Dyasha ได้เพราะเป็น preferred name ค้าบ

ตัวเอกสารในภาพคือเอกสารที่เรายื่นไปทั้งหมดเพื่อทำการสมัคร as a transfer student ของ Maryville College ก็คือ GDPR signed consent (ของ Maryville College เรื่องการเก็บข้อมูลต่าง ๆ เป็น confidential), ผลสอบ GED (ไม่ required นะ แค่ยื่นเผื่อเพราะเรามีจ้า), ผลการเรียนม.ปลายและผลการเรียนในมหาวิทยาลัย (มากกว่า 24 credits ตอนนั้นยื่นไป 40 หรือ 60), หน้าพาสปอร์ตที่มีข้อมูลส่วนตัว และ personal statement ซึ่งอันนี้คือการสมัครแบบธรรมดา (regular applicant) 😁

เอกสารที่ใช้สำหรับการสมัครของ U of Idaho 🎬

สำหรับของ UIdaho จะเน้นไปที่เอกสารด้านผลการเรียนกับด้าน IELTS ซะมากกว่า ตอนนั้นที่ใช้ก็คือ application form, ผลการเรียนม.ปลายและผลการเรียนของ MUIC ประมาณนั้นจ้าาา

 

📚 แต่ส่วนมาก (ขอเขียนรวมไปด้วยเลยแล้วกันสำหรับเรื่องเอกสารที่จำเป็นต้องมีในการสมัครเพื่อเรียนต่อ u ตอนป.ตรี) ถ้าไม่ได้เล็ง top u แบบ competitive มาก ชนิด top 30 ของอเมริกาขนาดนั้นที่ใช้หลัก ๆ ในการพิจารณาเพื่อ partial scholarship หรือ financial aid เอกสารทั้งหมดควรทำให้เป็นภาษาอังกฤษให้หมดนะ ก็คือ

- Transcript ที่แสดง high school cumulative GPA: ควรจะอยู่ที่ 3.0 ขึ้นไป หรือบางที่ถ้า competitive มากก็จะอยู่ที่ 3.5-4.0 หรือบางคนถ้ามี AP scores หรือ advanced placement เพื่อเก็บเครดิตล่วงหน้าของ college board ก็อาจทำให้เกรดสูงสุดอยู่ที่ 4.3 ได้ ซึ่งตามปกติแล้ว top u มาก ๆ อย่าง Harvard จะอยู่ที่ average 4.15 ส่วนตัวเราใช้เกรดม.6 แบบครบ 6 เทอมด้วย 3.1+ และก็เกรดมหาลัย 3.4+ พร้อมผลสอบ GED ที่เป็นวุฒิ high school ใบที่ 2 ของเราไปเผื่อ

- คะแนน ACT หรือ SAT: มันจะเป็น standardised test ของระบบการศึกษาอเมริกาเพื่อใช้พิจารณาในการเข้าเรียน university/college ในอเมริกา (หรือถ้าเป็นเด็กที่เรียนระบบอเมริกันแล้วตั้งใจอยากเข้าฝั่ง EU/UK ก็จะต้องมีคะแนนนี้ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งจ้า) บางที่ก็เป็น optional ตามสถานการณ์โควิดตอนนี้, บางที่ก็ไม่ขอ SAT/ACT สำหรับ international students, บางที่ก็ considered but not required หรือบางที่ก็ไม่ required เลย ต้องไปดูตรงหน้า admission requirements for international students กันเอาเองจ้า แต่ทั้ง 2 u ที่เราสมัครเขาไม่ได้ขอ SAT/ACT สำหรับเด็กต่างชาติ เพราะเขาไม่ได้ใช้ในการพิจารณา เราก็เลยไม่จำเป็นต้องยื่น บวกกับเราไม่ได้สอบด้วย

➡️ ตัวอย่างสำหรับ u ที่ขอคะแนน SAT/ACT เช่น Stanford University แต่เด็กที่ยื่นคะแนนก็คือส่วนมากได้ 1550 (จาก 1600) หรือคะแนน ACT 35 จาก 36 (almost perfect score)

😊 สำหรับเว็บที่แนะนำให้ดูเรื่อง acceptance rate, admissions ต่าง ๆ แนะนำ Niche ส่วนของเว็บอื่น ๆ ที่เราเคยดูก็จะมีพวก US News (ลิงก์ตัวอย่างของ NYU) และก็ PrepScholar (เป็นตัวอย่างของ NYU อีกเช่นเคย)

- คะแนนวัดระดับภาษาอังกฤษ (English proficiency test): ถ้าตั้งใจจะยื่นอเมริกาแนะนำให้ใช้ TOEFL iBT หรือถ้าม.รับ IELTS ก็ใช้ผลสอบ IELTS Academic ส่วนมาก u ในอเมริกาจะไม่ขอคะแนน each component ของ IELTS แบบ u ในออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, แคนาดาหรือว่าอังกฤษ จะขอแต่ overall ว่าเท่าไหร่ อย่างของ UIdaho ขอ overall 6.0 ส่วน Maryville College ขอ 6.5 เราได้ 6.5 ก็เลยยื่นไป

*ผลสอบ IELTS Academic นั้นมหาวิทยาลัยเอาแค่พอผ่านเกณฑ์ ไม่ได้มีผลกับการพิจารณามากเท่าผลการเรียนหรือคะแนนอื่น ๆ ที่แสดง study performance ไม่ได้หมายความว่าขอ 6.5 แล้วได้ 7.0 จะมีอัตราการตอบรับที่มากกว่า แต่ถ้าสามารถทำคะแนน IELTS ได้มาก ก็จะเป็นผลดีกับตัวผู้สมัครเองในเรื่องของการเรียนและความเข้าใจทางด้านภาษาอังกฤษ 😬 ส่วนตัวเรามองว่า IELTS มันก็สำคัญนะ เพราะว่ามันก็เป็นด่านนึงว่าเราเข้าใจภาษาอังกฤษขนาดไหน เนื่องจากทั้ง 2 u นี้จะไม่มี pathway หรือการเรียนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานเชิงวิชาการ (academic english) ก่อนจ้า

➡️ สำหรับ top u ที่กล่าวมาข้างบนนั้น average คะแนนของเด็กที่ยื่นเข้าไปมักได้ IELTS Academic 7.5+ (ก็คือเฉลี่ยกัน 7.5-8.5 เพราะแน่นอนว่าเด็กที่ยื่นไปนั้นคือเด็กที่เรียนในระบบโรงเรียนนานาชาติในประเทศต่าง ๆ และสอบ IELTS เผื่อไว้และยื่นไปด้วย)

- จดหมายแนะนำจากอาจารย์หรือ letter of recommendation: ส่วนตัวเราใช้จากโรงเรียนตอนม.ปลาย 2 คนแล้วก็อาจารย์จากมหาลัย 1 คน เพราะตอนนั้นเพิ่งเข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยได้แค่ 2 เทอมกว่า ๆ (ยังไม่จบเทอม 3 ดี) แนะนำให้หาอาจารย์ที่เราสนิทและรู้จักเราในแง่ของ aspiration/goal และด้าน portfolio หรือ academic performance จะดีกว่าจ้า บางที่อาจขอ 2 คนหรือบางที่อาจจะขอ 3 คนก็ต้องไปดู requirement กันเอาเองจ้า

- personal statement ที่เราเขียนเอง: จริง ๆ แล้วมันจะเป็นเหมือนการเขียน background ของเราเองและการเรียนที่นี่จะช่วยให้เราไป achieve goal ของเราได้อย่างไร ทำไมเลือกที่นี่และทำไมที่นี่ต้องเลือกเรา ถ้าเขียนได้ลิงก์กับหลักสูตรที่เลือก, วิทยาลัย (เช่น ความโดดเด่นทางวิชาการต่าง ๆ) หรือ goal ในอนาคตที่จะ apply knowledge ที่จะได้เรียนจากที่นี่ไปยังไงได้บ้าง ก็จะประมาณนี้ (ที่จำได้ 555)

- activity resume: จะเป็นเรื่องของ activity ที่เคยทำมาหรือเป็น accomplishment ต่าง ๆ ในด้านการเรียนหรือประสบการณ์ชีวิตต่าง ๆ อย่างของเราก็จะเขียนพวกเรื่อง scholarships ที่เคยได้รับไป และก็ activities ที่เคยทำ, club ที่ join และ experience การทำงานหรือ project ต่าง ๆ ลงไป

 

ถ้าไม่ได้เรียนต่อจนจบม.6 เพราะออกมาสอบ GED (General Educational Development) หรือว่าสอบเทียบของระบบอเมริกัน จะสามารถขอทุนบางส่วนหรือทุนเต็มจำนวนจาก U ในอเมริกาได้มั้ย?

🍦 ขอพูดก่อนนะคะว่า มีผู้ปกครองที่ส่งลูกทั้ง 3 คนเรียนโรงเรียนอินเตอร์ท่านหนึ่งเคยพูดว่า "การมาสอบเทียบนั้นไม่ผิด แต่การออกจากระบบโรงเรียนมาเพื่อหาทางลัดนั้นผิด" ซึ่งตัวมี่เองมองมันออกมา 2 มุมนะคะ (เน้นว่าความเห็นส่วนตัว)

- จากมุมของเด็กที่เรียนโรงเรียนไทยมาแต่มีวุฒิ GED ด้วย (และบ่นตามประสาคนอยู่กับมันมา 12 ปี): ส่วนตัวเราเข้าใจดีว่าระบบโรงเรียนมัธยมปลายของประเทศไทยนั้นแย่มาก ถึงเราจะเรียนโรงเรียนเอกชนคาทอลิกมาก็ตาม course load หนักมากคือ 8 ชม. ต่อวัน กฎระเบียบไร้สาระเยอะมาก ครูประสาท... ก็มีแต่ครูดี ๆ ก็มีเหมือนกัน (ที่เคยเจอคือเพื่อนมาสาย 2 นาที ครูให้ยืนหลังห้องอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงแล้วเดินไปทุบหลังเลย แล้วตีแบบแรงมากจนเพื่อนร้องไห้ ครูก็ขึ้นเสียงใส่อีกว่าจะร้องไห้หาอะไร ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นครูควรมีวุฒิภาวะกว่านี้ ไม่ควรไปทำแบบนี้เพื่อความสะใจหรือมองเด็กเป็นที่ระบายความโกรธ และคนนี้ทำแบบนี้ไม่ใช่ครั้งแรก ทำมาหลายครั้ง ถึงมีผู้ปกครองร้องเรียน โรงเรียนทำอย่างมากก็แค่พักงานครู ครูก็ไม่เคยโดนไล่ออกสักครั้ง) เรื่องสังคมเพื่อนส่วนมากแย่ ชอบชิงดีชิงเด่นกันกับ peer pressure ที่เหลือ...ขอไม่พูดถึงแล้วกัน ใครบอกโรงเรียนนี้ผลิตกุลสตรีที่ดี เพียบพร้อม เลิศเลอ นั่นคือ "อาจจะ" เป็นสมัยก่อน เพราะสมัยนี้ขอพูดตรง ๆ ว่าเละมาก สังคมเปลี่ยนไปมาก (ที่บ้านเอาเรามาเข้าที่นี่เพราะมีคนในบ้านจบจากที่นี่แล้วเขาบอกว่าสมัยเขาเรียนเมื่อ 20 กว่าปีก่อนมันดี และเขาจะเอาน้องเราเข้าที่นี่ต่อ แต่เราคือห้ามสุดใจ ขอให้เขาเอาน้องเราไปเข้าระบบนานาชาติ ต่อให้ตายเราก็ไม่ให้เรียนที่นี่ เราเห็นทุกอย่างที่เราอยากเห็นมาหมดแล้ว) ถามว่าไร้สาระขนาดไหน ไปดู Girl From Nowhere ตอน Liberation ได้เลย ระบบโรงเรียนไทยคือแบบนั้นจริง ๆ เป็นระบบที่มีเพื่อล้างสมองเด็กมากกว่าจะ educate เด็ก ตอนนั้นมี่ยอมรับว่าพอมีวุฒิ GED แล้วอยากลาออกมาก เลย (แอบที่บ้าน) ไปสมัคร MUIC ด้วยวุฒิ GED เลยแล้วไปสอบ writing essay จากนั้นดันติด IC เลย สามารถเข้าไปเรียนป.ตรีได้เลยตั้งแต่ยังไม่จบม.6 ในโรงเรียนไทย เลยคุยกับที่บ้านว่ามี่อยากออกไปมหาลัยเลย แต่ที่บ้านบอกว่านี่ก็ขึ้นม.6 แล้ว อยู่จนจบมันจะดีกว่าไหม? เพราะมี่รู้ตั้งนานแล้วว่าเราตั้งใจจะลุยเข้าสายอินเตอร์ล้วนอยู่แล้ว เลยไม่เห็นประโยชน์ของการเรียนต่อในระบบโรงเรียนไทยเลย GED ก็ผ่าน IELTS ก็ได้ จะอยู่ม.6 ต่อไปทำไม เรื่องเลือกสายเรียนที่บ้านไม่บังคับอะไรมี่ก็จริง แต่มี่พูดตรง ๆ ว่าไม่เคยอยากจะเรียนที่โรงเรียนนั้นเลย อยากย้ายไปเรียนอินเตอร์หรือต่างประเทศมากกว่า พอเรียนจบม.6 มาก็ยอมรับว่าวุฒิม.6 ไม่ได้ช่วยอะไรมี่มากนัก เพราะมี่เป็นคน self-learning อะ ชอบอ่าน ชอบหาอะไรเพื่อเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีคนเคยคุยกับมี่แล้วบอกมี่ว่า "เป็นคนที่ความคิดความอ่านดีมาก ดูชอบศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง ความรู้รอบตัวเยอะ" อันนี้มี่ไม่ได้มันมาจากการศึกษาไทยอะ มี่ได้มาจาก personality ตัวเองและการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนรอบข้างมากกว่า อาจจะได้มาจากป๊าด้วยเพราะมีอะไรชอบนั่งคุยนั่งถกเถียงเรื่องต่าง ๆ กับป๊า (อันนี้คือบอกก่อนนะว่าถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่โลกกว้าง เขาจะมองว่ามี่ชอบ discussion แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูล แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่ที่โดน brainwashed จากการศึกษาไทยโดยสมบูรณ์ จะมองมี่ว่าเป็นคนชอบต่อล้อต่อเถียง ไม่มีสัมมาคารวะ ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ ซึ่งอาการนี้เกิดขึ้นได้ถ้าเขาไม่มีเหตุผลหรือ logical reason มาคุยกับมี่ เมื่อเกิดอาการนี้ผู้ใหญ่เหล่านี้จะเริ่มตอบด้วยการขึ้นเสียงแบบทันใดทันที อาการดูคุ้น ๆๆ เหมือนเป็นส... ไหม 55555)

✔️ เรื่องวุฒิม.6 ขอทุนต่ออเมริกาแบบเต็มจำนวนนั้น วุฒิม.6 จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อคุณเรียนได้เกรด 3.9 หรือ 4.0, มีทักษะภาษาอังกฤษที่ดี (บางคนสอบ SAT และ IELTS เผื่อไว้ด้วยก็มี), เรียนดีแบบเป็นหัวกะทิ กิจกรรมเด่น (ใครเคยแข่งโอลิมปิกวิชาการมาจะดีมาก), เป็นเด็กที่ประพฤติดี (หมายถึงด้าน behaviour อะ ไม่เป็น troublemaker หรือ attention seeker), ทำ ECA หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร, เก่งด้านอื่นด้วย เช่น ศิลปะ การแสดง ดนตรี ถ้ามีพวกนี้ครบ และมีจดหมายแนะนำ/รับรองที่แสดงว่าคุณเพียบพร้อมสำหรับทุน ก็จะทำให้การขอทุนเต็มจำนวนมีโอกาสได้มากขึ้น แต่ส่วนมาก 90% ที่เคยเจอที่ได้ทุนเต็มต่ออเมริกา ล้วนแต่เป็นเด็กจบจากโรงเรียนรัฐบาลชื่อดังแห่งหนึ่งที่เปิดสอนเฉพาะม.ปลาย (โหดตั้งแต่ตอนสอบเข้า ที่แห่ไปสอบกันเยอะๆ) หรือโรงเรียนเฉพาะทางสายวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐมและระยอง ที่ไปสมัครทุนรัฐบาลไทย อย่างทุนเล่าเรียนหลวง (ทุนคิง) หรือทุนกพ. ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นทุนที่ผูกมัดคือต้องกลับมาทำงานที่ไทยจะกี่ปีก็แล้วแต่ว่าไปเรียนกี่ปี และต้องใช้ทุนระยะเวลาเท่าไหร่ ส่วนทุนเต็มจำนวนแบบให้เปล่า ส่วนมากจะเป็นประเทศแถบเอเชียเท่านั้น เช่น สิงคโปร์ อินเดีย ฮ่องกง จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี บรูไนฯ ไต้หวัน ซึ่งส่วนมากทุนเหล่านี้จะถูกประกาศโดยสถานทูตของประเทศนั้น ๆ แต่ของฮ่องกงนั้นการพิจารณาทุนเต็มมักขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัย แต่สิทธิ์การได้ทุน 50-100% นั้นไม่ยาก ส่วนทุนรัฐบาลรัสเซียก็มีเช่นกัน แต่ต้องไปเรียนภาษาก่อน 1 ปีและต่อระดับตรีอีก 4 ปี (ซึ่งส่วนมากจะตายกันตรงภาษารัสเซีย ส่วนตัวเคยเรียนภาษารัสเซียมา ยากโพดดด ผันที 6 การก)

 

✔️ แต่อย่าลืมว่าการเรียนต่อและขอทุนที่ "อเมริกา" ไม่ได้เป็นเป้าหมายสำหรับแค่เด็กไทยอย่างเดียว ทุนเต็มจำนวนของ u หรือ college นั้นไม่ได้แยกตามประเทศ แต่แยกสำหรับ international students (ซึ่งแต่ละปีมีแค่ 1-2 ทุน) คือเราต้องแข่งกันเองกับทั้งเด็กไทยและเด็ก international ทำให้โอกาสเรื่องการได้ทุนนั้น extremely competitive ถึงแม้จะไม่ใช่ u ดัง เป็นเพียง liberal arts college ก็ตาม เพราะมันไม่ได้มีแค่เด็กไทยสมัครอย่างเดียว มีทั้งเด็กประเทศอื่นจากทุกมุมโลกหรือเด็ก international ที่เรียนในอเมริกา ซึ่งแต่ละปีทาง admissions แบบว่าแต่ละปีเขามี qualification ในใจเขาอยู่แล้ว ก็ต้องไป weigh เอาว่า "คุณมีคุณสมบัติอะไรที่ outstanding กว่าคนที่มาจากประเทศที่การศึกษาและประเทศดีกว่าเรา หรือทำไมคุณสมควรได้รับทุนนี้" e.g. เด็กสิงคโปร์ มาเลเซีย ที่ภาษาอังกฤษดีกว่าเด็กไทย พูดกันได้ 3-4 ภาษาเป็นปกติ และตัวหลักสูตรของประเทศเหล่านี้ก็ใช้แม่แบบของอังกฤษซึ่งเขามีความคิดความอ่านที่ western กว่าเด็กโรงเรียนไทย, เป็น global citizen จากการเติบโตมาแบบ multicultural, ทนความกดดันด้านการเรียนได้ดีกว่าด้วย

✔️ ส่วนเรื่องทุนแบบบางส่วนของ u ในอเมริกาสำหรับเด็กจบม.6 มันคือแล้วแต่ u ในแต่ละปีว่า u อยากหา "ลูกค้า" จากประเทศไหน (บาง u ใช้คำว่า "ทุน" เพื่อเป็น "โปรโมชั่นส่วนลดค่าเรียน" อันนี้ต้องยอมรับว่าประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักใช้ "การศึกษา" เป็นธุรกิจอย่างหนึ่ง นี่คือ business model ของโลกที่ 1 เพราะเด็กต่างชาติจ่ายค่าเทอมแพงกว่าเด็กชาติเขา 1-3 เท่าเป็นปกติ เมกานี่ตัว charge แพงเลย) ถ้าไม่ใช่ u ดังแค่ u เกรด B ประจำรัฐนั้น ๆ แค่ถือเกรด 2.5 ก็สมัคร "ทุน" ได้แล้ว ส่วนเรื่องภาษาอังกฤษ ถ้าไม่เก่ง ก็แค่ไปเรียน pathway ภาษาอังกฤษของ u นั้น (อีกกี่พันเหรียญก็แล้วแต่ระดับภาษาของแต่ละคนนะ เห็นไหมว่า u มีแต่ได้กับได้ ได้ทั้งค่าปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษและค่าเทอมเรทเด็กต่างชาติ เอเจนซี่ที่โฆษณาถึงไม่คิดค่าสมัครก็ได้ส่วนแบ่งจาก u ทีหลังเหมือนกัน) หรืออีกกรณีนึงคือเป็น private u ระดับเกรด A หรือ A- ดูดีใช่ไหมล่ะ? หารู้ไม่ ค่าเทอมเด็กต่างชาติจ่าย 60,000-70,000 USD ต่อปี แต่ u บอกว่า เนี่ย... ฉันให้ทุนเธอนะ 15,000-20,000 USD จ่ายเองอีก ประมาณ 40,000-50,000 USD ต่อปี ไม่รวมค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าที่พักและจิปาถะเต็มไปหมด มหาลัยเหล่านี้ก็ยังได้กำไรอยู่ดี ถือว่าเป็นแรงจูงใจลูกค้าหรือนักศึกษาต่างชาติอย่างหนึ่งด้วย "ทุน" อ้อ ละก็ private u/college ในอเมริกามีทั้งแบบ not-for-profit ที่ให้ทุนเต็มจำนวนเด็กอย่าง ivy league และ for-profit ดูให้ดี มันก็จะประมาณนี้ ขอโทษที่ไป burst bubble ใครเรื่องทุนด้วยนะคะ แต่นี่คือความจริงของโลกที่ทุกอย่างมันคือเงิน

✔️ ส่วนของเรื่องการขอทุนหากจบ GED สำหรับเด็กที่ออกมาจากระบบไทย จริง ๆ GED คือวุฒิเทียบเท่าม.6 ของอเมริกาก็จริง แต่สังเกตดี ๆ มักจะไม่ค่อยมี u ไหนให้ทุนเด็กที่จบ GED ค่ะ เรื่องจริงก็คือ GED ในสายตาคนอเมริกันเขามองว่ามันเป็นวุฒิเทียบเท่า HS ก็จริงแต่ศักยภาพของคนจบ GED ดันไม่เท่าคนจบ high school ในระบบค่ะ (อันนี้ไม่ได้เหมารวมน้า คนทำอาชีพที่ได้เงินดีหรืองานที่ได้เงินพอประทังชีวิต มันมีอยู่ทุกสายอาชีพและสังคมค่ะ คนจบ GED ทำงานได้เงินดี ๆ ก็มีเหมือนกัน อันนั้นทราบค่า) GED ถูกออกแบบมาให้กับคนที่ไม่สามารถจบม.ปลายได้ในสมัยก่อนอะ มันไม่ได้ยากกว่าม.3 หรือ grade 9 ของอเมริกามากนัก ฟีลบ้านเราที่เป็นเถ้าแก่กิจการใหญ่โตแต่จบป.4 งี้ แต่พอยุคสมัยเปลี่ยน กฎหมายเปลี่ยน สิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานก็เปลี่ยนไปด้วย การศึกษาในระดับ HS มันก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปเมื่อเทียบกับสมัยก่อนไง GED มันเลยกลายเป็นภาพลักษณ์ของคนที่มีปัญหาเรื่อง personal life เช่น เป็นเด็กเกเร หาเรื่องชาวบ้าน ไปตีกับชาวบ้านไปทั่วจนติด youth detention centre อาจโดนไล่ออกจากโรงเรียน, เป็น teen moms ต้องออกมาเลี้ยงลูกเอง (ถึงอเมริกาจะไม่รังเกียจหรืออคติ teen mom มากเท่าบ้านเรา แต่คนที่ bully คนอื่นมันก็ยังมีค่ะ คนประเภทนี้มีทุกที่ และเด็กอเมริกันถ้าหา victim ได้ก็ bully กันค่อนข้างแรงนะ) หรือที่บ้านมี financial problems ต้องออกมาเรียนไปด้วย (ส่วนมากจะเข้าไปเรียน community college หรือเรียกสั้น ๆ ว่า "cc" ซึ่งตอนนี้มีโปรแกรมเก็บเครดิตควบ high school completion และ college credits ไปด้วยเลยก็มี เช่น Green River College ลิงก์ไปอ่านได้เลย) แล้วทำงานไปด้วย เรื่องทุนจากการจบ GED ไม่ว่าจะบางส่วน, ทุนครึ่งหรือทุนเต็ม ด้วยการจบ GED ไปด้วยเนี่ย ถือว่าค่อนข้างยากอะ ไม่เฉพาะเด็กไทยที่ยากนะ เด็กอเมริกันก็ยากเหมือนกัน แต่ที่เห็นเด็กอเมริกันได้เรียน top u อะ ค่าเทอมที่เขาจ่ายได้ คือเขาต้องทำ part-time ส่งตัวเองเรียน (เด็ก western อายุ 17-18 ก็เลิกแบมือขอเงินพ่อแม่แล้ว หาเองแล้วจ้า ทั้งค่ากินอยู่ ค่าที่พักแชร์กับ roommates) หรือกู้ student loan เรียนเอา (เรียนจบก็ใช้หนี้ค่าเทอมกันหัวหมุน ยิ่งค่าเรียนสายแพทย์นี่ใช้กันหลัก 10 ปีก็มี ค่าเทอมทั้งหมดเป็นล้าน) ยกเว้นสอบ GED ได้คะแนน overall สูง ๆ เลยอะ 700+ จาก 800 (case by case basis จ่ะ แล้วแต่ u เลยอะ ให้คำตอบไม่ได้) หรือบาง u แค่ admission requirements ขั้นต่ำก็อาจจะขั้นต่ำ 165 ทุกวิชาและคะแนนรวม 680 จาก 800 และมีคะแนนตัวอื่นด้วย เช่น SAT หรือ ACT ที่เป็น standardised test ถ้าไม่ได้คิดจะเอาทุน แค่สอบให้ผ่านเกณฑ์ (145) ก็สามารถสมัครได้แล้ว (มักไม่ค่อยเป็น u ดังนะ) แต่บาง u ก็จะมีกำหนดเหมือนกัน เช่น Oregon State University (OSU) ขอคะแนน GED direct entry 150 คะแนนขั้นต่ำในแต่ละพาร์ท แต่คะแนนรวม (overall) ต้องได้ 680 หรือถ้าไม่ถึงแต่อยากเข้าเรียนที่นี่ ก็ต้องไปเรียน pathway programme (เช่น INTO, Kaplan เป็นต้น เรื่องเกณฑ์ของ INTO OSU เคยได้ยินมาว่าขอต่ำ แต่จำไม่ได้ว่าเท่าไหร่) ซึ่ง pathway programme นั้นต้องเรียน 3 เทอมและจ่ายเงินค่าเทอม pathway 32,XXX USD หรือประมาณ 1.04 ล้านบาท 🤯 ส่วนเรื่องค่าเทอมหลังจบ pathway นั้น ทำใจเลยว่าถ้า public u ก็อาจจะถูกหน่อย แต่ถ้าเป็น private u ก็จะ "แพงโพด" เด็กอเมริกันจ่ายถูกกว่าเรา 1-2 เท่าตัวอะ (แยก in-state กับ out-of-state tuition & fees นะ) 5555

*คำเตือนเรื่อง GED สำหรับเด็กที่เรียนโรงเรียนไทยแล้วจะออกจากโรงเรียนมาเพื่อสอบเทียบ GED: เราอยากเตือนมากว่า "อย่าหาทำ" เพราะตอนนี้โรงเรียนติวเตอร์ต่าง ๆ มักชอบเอา GED ไปโฆษณาว่า "จบม.6 ได้ตั้งแต่อายุ 16" เธอคิดใหม่ก่อน แนะนำให้คิดยาว ๆ คิดถึงเป้าหมายดี ๆ ว่าอยากเรียนที่ไหน ถ้าอยากเรียนอินเตอร์ที่ไทย ให้ศึกษากฎทั้งเก่าและใหม่ทั้งของ TCAS และทปอ.เพื่อวางแผนความเสี่ยงให้ดีนะ ถ้าอยากเข้าม.เอกชน ก็ไม่ต้องไปอะไรมาก เอาแค่ผ่าน 145 ก็เข้าได้แล้ว แต่ถ้าคิดจะเข้าม.รัฐ ดัง ๆ เช่น TU ทปอ. เคยเล่นกับความฝันของเด็กมาแล้วโดยการปรับเกณฑ์ overall 660 และแต่ละวิชา 165+ ในปี 62-63 แล้วบังคับใช้ในทันที ซึ่งคือความหายนะของเด็กที่ออกจากโรงเรียนมาสอบ GED เพราะการสอบให้ได้ 165 สำหรับเด็กที่ไม่ใช่เจ้าของภาษานั้นยากพอสมควร ถ้าพื้นฐานภาษาอังกฤษไม่แข็งแต่ลาออกมาแล้วอะ จะทำยังไงต่อ? เราเคยเจอคนที่ลาออกจากโรงเรียนไปติวสอบ GED มา 1 ปียังไม่ผ่านก็มี (ติด retake RLA ตัวร้าย) กับสายเทาออกดำ เป็นด้านมืดของ GED อันนี้ขอไม่พูดถึงหน้าไมค์ดีกว่าเดี๋ยวกลายเป็นชี้โพรงให้กระรอก แต่ถ้าจะเรียนสายแพทย์, ทันตะหรือสายวิทย์สุขภาพ ห้ามหาทำออกมาสอบ GED เพราะส่วนมากเขาไม่รับ!! (เอกชนยังไม่ค่อยมีที่ไหนรับ ม.รัฐภาคอินเตอร์ชื่อดังลืมไปได้เลย) ถ้าไม่อยากเรียนในม.ปลายระบบไทยจริง ๆ (แบบรู้แล้วว่าอยากเรียนอะไร อยากทำอาชีพอะไรในอนาคต แล้วที่เรียนในโรงเรียนมันไม่ตอบโจทย์เลย อยากเข้ามหาลัยไปเรียนสิ่งที่ชอบมากกว่า) เราแนะนำให้ซื้อความเสี่ยงตรงนี้โดยการสอบ GED เทียบไปด้วยแล้วเรียนในระบบไปด้วย (มี่เคยทำแบบนี้) แล้วถ้าผ่าน GED หมด ค่อยทำเรื่องดร็อปหรือลาออกก็ได้ ถ้าติดมหาลัยปลายทางก็ยินดีด้วย แต่ถ้าไม่ติดที่ ๆ อยากได้จริง ๆ อย่างน้อยกลับมาเรียนที่เดิมก็ยังมีโอกาสอีกครั้งโดยการใช้วุฒิม.6 หากอยากเข้าภาคไทยของม.รัฐดัง ๆ เราแนะนำว่าเรียนม.6 อาจจะดีกว่าเพราะเป็นประโยชน์สำหรับการสอบ GAT, PAT, ONET, 9 วิชาสามัญหรือกสพท. (เรียกถูกไหมอะ) หรือเก็บกิจกรรมในโรงเรียนเพื่อยื่นรอบพอร์ตจะดีกว่า (หากเขียนผิดขออภัยฮะ มี่ไม่ได้ยื่นเข้าฝั่งไทยหรือสอบพวก tests เพื่อเข้าฝั่งไทยเลยอ่า ยื่นแต่ MUIC ที่เดียวแล้วก็ม.ในต่างประเทศ)

 

- จากมุมมองพี่สาวคนหนึ่งที่ผลักดันน้องสาวให้มีโอกาสได้เรียนโรงเรียนอินเตอร์ตั้งแต่ primary school และตัวเองได้เข้ามาเรียนหลักสูตรนานาชาติตอนป.ตรี:

🍦 เราว่าถ้าการศึกษามันดี สังคมดี ครูดีอะ (แต่แลกมากับค่าเทอมแพง) มันไม่มีใครอยากออกมาสอบเทียบหรอก 5555 ที่เราเห็นชัด ๆ คือเด็กที่เรียนอินเตอร์ส่วนมากจะอยากไปโรงเรียนมาก เพราะสนุก ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตร เรียกว่า ECA หรือเข้า club กับเพื่อน อย่างน้องเราจะชอบ origami, painting, gardening, cooking มาก ที่สำคัญคือโรงเรียนน้องเรามี ECA gymnastics กับ inline skating ด้วยซึ่งน้องเราก็ลงเรียน (โรงเรียนไทยไม่มีแน่นอน อันนี้เรานอนยันเลย) น้องเรามีความสุขกับการไปโรงเรียนมาก ตอนเย็นก็ไม่อยากกลับบ้าน อยากเล่นกับเพื่อน อยากทำกิจกรรมนั่นนี่เต็มไปหมด 555 คือการเรียนการสอน (อันนี้ระบบ English) จะเรียนเรื่องเดียวแต่เรียนเรื่องนั้นทั้งเทอม เช่น ตอนน้องเราอยู่ year 2 trimester 3 ก็ได้เรียนเรื่องทวีป antarctica ก็จะเรียนเรื่อง polar bear, penguin, seal อะไรงี้ พอมาวิชาภาษาอังกฤษก็จะเรียน metaphor, pun หรือการเขียน poem เกี่ยวกับ penguin (ให้เด็กใช้จินตนาการเต็มที่เลย) พอมาวิชาศิลปะก็คือให้วาดรูปว่าจินตนาการถึงที่อยู่ penguin ยังไง ส่วนวิชาคณิตศาสตร์ก็จะเรียนอะไรที่มันใกล้ตัว เช่น การนับเวลา การเขียนนาฬิกา AM PM ใช้ยังไง half past ten จะวาดออกมาเป็นเข็มนาฬิกายังไง หรือพวก ten, hundred, thousand จะแยกยังไง ถ้ามีโจทย์แบบนี้ต้องใช้เลโก้หรือจำนวนสิ่งของที่น้องเรามี มาใช้ในการบวกลบคูณหาร วิชาพละก็คือสอนว่ายน้ำ เล่นบอล เป็นต้น แต่เสียดายตอนนี้น้อง year 3 ก็คือออนไลน์ เป็นเศร้าเลยน้องบอกอยากกลับไปเรียน on-campus แล้ว ส่วนตัวเรามาพูดถึงการเรียน inter ในมหาลัย เราก็ enjoy กับการเรียนที่ MUIC มากนะ ถึงมันเหนื่อยแต่เรามีความสุขกับสิ่งที่เราได้ทำและได้เรียนไง

✔️ การได้ทุนเต็มจำนวนของอเมริกาจากการใช้ผลสอบ GED นั้นคือยากถึงยากมากแม้จะเป็นเด็กที่เรียนอินเตอร์เอง เพราะความคิดเรื่องการเรียน high school ฝั่งอเมริกาก็ต่างจากบ้านเราตามที่เล่าไปข้างบน (อย่างทุนรัฐบาลเกาหลีก็ไม่รับ homeschooled และ GED applicants นะ) แต่คือประเทศไทยจะมองว่าจบ GED หรือสอบเทียบมาคือเด็กเก่ง ไม่ต้องเรียนในระบบก็ออกมาสอบเทียบได้เลย ซึ่งมีครั้งหนึ่งที่หลักสูตรไทยมีการเปิดสอบเทียบเพื่อเข้ามหาลัย สิ่งที่พบได้ชัดเจนคือเรื่องของ "วุฒิภาวะ" และ "ความรับผิดชอบ" ซึ่งมีเด็กบางคนที่สอบเข้าได้ academic performance คือเลิศแต่ไม่สามารถเรียนจนจบได้เพราะมันไม่ไหวในเรื่องของการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและความรับผิดชอบ (อาจจะยังขาดประสบการณ์ชีวิตและยังรับมือกับปัญหาบางอย่างไม่ไหว)

✔️ หรือบางคนเรียนอินเตอร์แล้วต้องการจะประหยัดค่าเทอมของผู้ปกครองก็เลยออกมาสอบ GED เพื่อ save cost ค่าเทอมของโรงเรียนนานาชาติที่จ่ายค่าเทอมกันปีละ 6.8 แสนบาทถึง 1 ล้านบาทต้น ๆ และประหยัดเวลาที่จะเรียน high school ไปเรียน u แทน ถ้าเป้าหมายคือเรียนต่อม.รัฐภาคอินเตอร์ในไทยก็พอ acceptable (เด็กจบหลักสูตร HS จากนานาชาติ โดยเฉพาะ IB นี่คือ overqualified) แต่เราพูดตรง ๆ ว่า "มันไม่คุ้มหรอก" เพื่อนเราที่เรียนอินเตอร์ส่วนมากแล้วออกมาสอบ GED ส่วนมากจะ regret เพราะตัดโอกาสตัวเองในการไปเรียนต่อต่างประเทศและขอทุน จะไปยุโรปก็ไม่ได้เพราะเขาไม่รับ GED (จะไปต่อออสหรือ UK ก็ต้องเรียน foundation เพราะพื้นฐานความรู้อาจไม่แน่นพอที่จะเรียนกับเด็ก native/local หรือสู้กับ international students ด้วยกันเองไม่ได้ เพราะถ้ายอมจ่ายระดับ high school เพิ่มอีกสัก 2 ปีหรือถ้าผู้ปกครองยังพอส่งไหวให้จนจบ high school ได้ (สำหรับ IB และ Sixth Form ที่เรียน Year 12-13 หรือระบบ US 4 ปี นับจาก Grade 9-12) แล้วตั้งใจเรียน ผลการเรียนดี การได้เข้า top universities in the world และอาจจะได้ทุน (partial or full-ride) มันย่อมคุ้มกว่าอยู่แล้วเพราะการศึกษาที่ดี และผู้เรียนมี potential ที่จะเข้า top u ระดับโลก และรู้จักการสร้าง connection สถาบันการศึกษา, alma mater หรือ alumni ที่เรารู้จักมันเอาไว้หาเงินได้ตลอดชีวิตเลยนะ

✔️ ถ้าออกมาสอบเทียบ GED (minimum requirement แล้วแต่ u แต่ละที่และประเทศปลายทาง) แต่อยากไปเรียนต่างประเทศ แถบ UK, USA, Australia หรือ New Zealand ยังไงก็ต้องไปเข้า foundation programme หรือ pathway programme 1 ปีนะคะ ถึงจะต่อระดับป.ตรีอีก 3-4 ปีได้ แต่ถ้า Canada อาจจะยากถึงยากมาก เพราะ Canada ไม่เหมือนชาวบ้านคือทีกำหนด required high school credits มาเลยว่าใน 4 ปีใน HS ต้องเรียนอันนี้ อันนั้นมากี่ credits ซึ่ง GED ไม่มีเขียน feedback/results ของหลักสูตรตรงนี้อยู่แล้ว ส่วน u ที่ได้อาจจะได้ u ระดับกลางถึง top ปานกลางค่า แต่เพื่อนเราที่สอบ GED (แต่ว่าเรียนอยู่อินเตอร์ระบบ UK มาตั้งแต่เด็กแล้วมาเรียน AP ตอนม.ปลายที่โรงเรียนสาธิตนานาชาติแห่งหนึ่งด้วย ก่อนไปสอบ GED) จากนั้นเพื่อนเราคนนี้ยื่น GED พร้อมผล AP หรือ transcript จากระบบนานาชาติไปแล้วได้เข้า U of Warwick ที่อังกฤษแบบต้องเรียน foundation 1 ปีแล้วถ้าผ่านก็ต่อตรีเลย (ไม่ได้ทุนนะ จ่ายค่าเรียนเองเต็มจำนวน) ตอนนี้ก็คือเรียนอยู่ Warwick ในระดับมหาลัยไปแล้ว 🇬🇧

 

ถ้าเรียนมหาวิทยาลัยในไทยไปแล้ว แต่อยากไปเริ่มใหม่แบบ first-year ที่อเมริกาแบบไม่ transfer เครดิตจากมหาวิทยาลัยในไทยไป จะสามารถทำได้ไหม?

🍦 หากเรียนในมหาวิทยาลัยไทยไปแล้วได้เครดิตมากกว่าหรือเท่ากับ 24 เครดิตแล้ว ไม่ควรปกปิดข้อมูลตรงนี้เพื่อไปสมัครเป็น first-year ใหม่ค่ะ เพราะปกติประเทศไทยกับอเมริกาจะมีเรียนวิชา general education หรือ gen ed เพื่อปูพื้นฐานตอนปี 1 ก่อนจะเข้าวิชาสาขาหรือคณะเหมือนกัน เท่ากับว่าถ้าไปเริ่มใหม่แบบ first-year หรือ freshman ก็จะเสียเวลาเพิ่ม 1 ปีและค่าเทอมด้วย ถ้าคิดว่าอยากปูพื้นฐานใหม่แบบระบบอเมริกัน ควรปรึกษากับ advisor ของ host university หรือมหาลัยปลายทางค่ะ แต่ถ้าคุณเรียนไปแค่เทอมเดียวแล้วลาออก เครดิตมีไม่ถึง 24 เครดิตก็สามารถสมัครเป็น first-year ได้ (ทั้งนี้ควรคุยกับ admissions officer ของแต่ละ u เองนะคะ ให้เขาแนะนำดีกว่าว่าควรทำหรือสมัครแบบไหน) เพราะหากว่าปกปิดข้อมูลตรงนี้แล้วมหาลัยตรวจสอบแล้วพบว่าคุณปิดข้อมูลตรงนี้ อาจจะเพื่อขอทุนเต็มจำนวนที่กำหนดไว้ให้สำหรับเด็ก first-year เท่านั้น แล้วคุณลักไก่โดยการ assume เองว่า "ฉันเป็น first-year ในไทย ไม่ใช่ first-year ในอเมริกาหนิ ก็ต้องมีสิทธิสมัคร full-ride สิ" มีสิทธิ์โดน expel จาก u/college ได้ค่ะ เพราะมันคือ dishonesty ที่ก่อนคุณสมัครหรือกรอก application คุณต้องกรอก consent ว่าสิ่งต่าง ๆ หรือข้อมูลของคุณที่ให้มหาลัยนั้นเป็นความจริงทั้งหมด มหาวิทยาลัยของอเมริกาและประเทศอื่นไม่ compromise หรือหยวน ๆ หน่าาาา แบบประเทศไทยนะคะ 😌

 

🏔 APPLYING TO THE UNIVERSITY OF IDAHO 🎬

ตอนนั้นที่ได้จดหมายจาก UIdaho คือชอบมากกกก มหาลัยไทยไม่มีกระทั่ง acceptance letter อะ นี่คือจดหมาย airmail มาเลยเด้อ 🥲

ตอนนั้นที่สมัครไป UIdaho คือเราสมัครเองไม่ผ่าน agency เหมือนกันก็คือกรอก application ผ่านหน้าเว็บของ UIdaho ไปเลยอะ พวกลิสต์เอกสารอะไรงี้เขาก็จะมีระบุให้ว่าต้องสมัครด้วยอะไร ใช้อะไรบ้าง

เราขอแนบภาพไว้ให้เห็นภาพง่าย ๆ ข้างล่างแล้วกันเนอะ จะได้นึกภาพออกมากกว่าเขียนอธิบายอย่างเดียวจ้า 😉

หน้า application management หรือ dashboard ของเรา

ส่วนนี้จะเป็น application management หรือหน้า dashboard ไว้ติดตาม status ของ application status เราเป็นต้น หรือจำนวน application ที่เราเคยสมัครไปใน account เดียวกัน 📨

ถ้าจะกรอกใบสมัครให้กดตรง "undergraduate" ที่เป็น underline แล้วก็จะขึ้น tab แบบที่เราแคปมา 🤩

จากนั้นก็คลิก open application แล้วลุยกรอกข้อมูลไปเลยจ้าาาาา 🤩

เอกสารที่ใช้ในการสมัคร UIdaho 🎬

ตามที่เห็นก็คือต้องมีผลสอบวัดระดับภาษาอังกฤษอย่าง IELTS Academic หรือใครจะใช้ TOEFL iBT ก็ต้องไปดูอีกทีว่าเขารับ MyBestScores ไหมหรือรับแบบสอบครั้งเดียวเท่านั้น (บาง u รับ MyBestScores แต่ u top ส่วนมากคือไม่รับค่ะ) บางกรณีอาจจะมีรับ Pearson PTE ด้วยเช่นกัน และเกรดม.6+เกรดมหาวิทยาลัย (สำหรับ transfer), หน้า passport ที่ยังไม่หมดอายุ แต่ถ้าติดแล้วจะเอาที่นี่เลยก็ต้องแนบเอกสาร final official college transcript ที่ส่งแบบมี university seal ไปที่ address u ในอเมริกา, bank statement และตัวเอกสารที่ทาง u แนบมาคือ certificate of financial responsibility หากเราแนบเอกสารด้านการเงินไปให้ทาง u ครบทั้งหมด 2 ตัวและเอกสาร official อื่น ๆ จาก home university ไป ทาง host university ก็จะออกเอกสาร I-20 เพื่อใช้ขอวีซ่านักเรียน F-1 ของอเมริกาให้ได้ค่ะ (นักเรียนต่างชาติต้องขอวีซ่า F-1 ซึ่งทำงาน on-campus ได้ไม่เกิน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์นั่นเอง) 😊

update ที่มีจากตัว application ข้างบนจ้า เป็น acceptance letter จาก UIdaho 😁

ถ้าใครสังเกตจากภาพก่อนหน้าภาพนี้ข้างบน จะเห็นว่ามีเขียนเรื่อง an update... ซึ่งจะเป็นสถานะของเราว่าเราได้ acceptance letter หรือว่า rejection letter นั่นเอง พอคลิกเข้ามาก็จะเป็นเนื้อหาจดหมายประมาณนี้ที่เป็น acceptance letter ของมี่เอง นอกจากจะดู online ได้แล้ว ยังสามารถโหลดมาเก็บเป็นแบบ PDF ได้อีกด้วย 😆

อันนี้จะเป็น PDF file ที่ส่งมาให้ในอีเมลอีกที 🙏

ใครชอบเก็บ acceptance letters แบบเราไม่ควรพลาดการเซฟจาก PDF ไว้ทั้งปวง 5555 อย่างของเรามาสาย film ก็เลยสมัคร 1st choice เป็น BA Film & TV Studies และ 2nd choice เป็น BA Broadcasting & Digital Media ซึ่งอยู่ภายใต้ College of Letter Arts and Social Sciences, The University of Idaho ทั้งคู่ 🎬

ปล. ทั้ง 2 สาขานี้มีตัววุฒิแยกกันนะ คือ BA จะเป็น Bachelor of Arts (เราเลือก BA) กับอีกตัวคือ BS หรือ Bachelor of Science ถึงจะเรียนสาขาเดียวกัน แต่ถ้าตอนสมัคร สมัครคนละวุฒิก็จะวิชาเบสหรือ major core ที่ต่างกัน ถ้าเลือก BA จะเรียนมาแนว arts แต่ถ้าเลือก BS ก็จะออกไปทางแนววิทย์ ๆ อาจจะวิทย์แบบประยุกต์กับ arts ก็ได้เหมือนกัน ใบจบก็จะเป็นไปตามวุฒิที่เราเลือกสมัครมาตอนแรก

ส่วนนี้จะเป็นอีเมลที่ส่งมาย้ำเจ้าตัวอีกทีว่า "You're In!" เราว่าเป็นความใส่ใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูดีมาก

ที่เราประทับใจที่สุดเลยคือการที่ airmail จดหมายมาให้ถึงบ้านในประเทศไทยเลยแหละ ❤️

แถมกระดาษคือคุณภาพดีมาก เราจับกระดาษแล้วชอบมากตรงที่มันเรียบ ๆ แล้วตรงแถบเหลือง ๆ จะมัน ๆ ลื่น ๆ อะ จ่าหน้าซองก็จะเป็นชื่อและที่อยู่ของ applicant เลย

เอกสารที่แนบมาในซองจดหมายก็จะประมาณนี้ มีทั้ง acceptance letter และเพิ่มเติมเรื่อง award ที่เขาจะให้ จะเป็นเรื่อง financial aid หรือมูลค่าทุน Invitation to Idaho Scholarship ที่ลด 15,084 USD ต่อปี (ให้สูงสุด 4 ปี) และเงื่อนไขในการรับทุนต่าง ๆ รวมถึง tuition and fees estimation cost ด้วย


ของ UIdaho ก็ประมาณนี้ ขอจบของ UIdaho ไว้ที่ตรงนี้ขรั่บบบบ 🙏

 

🏕 มาต่อกันที่ Maryville College, Tennessee กันเถอะ 🍂

ได้รับ acceptance letter จาก Maryville College แล้ววว ⌨️

จาก Maryville College (เรียกย่อสั้น ๆ ว่า MC หรือ scots) ตัววิทยาลัยจะตั้งอยู่ที่เมือง Maryville, Tennessee จ้า ถ้าเป็น Maryville University อันนั้นจะอยู่ที่ Saint Louis, Missouri ก็คือ... ที่ MC ส่วนตัวสมัคร BA Writing Communication ไป เพราะว่าที่ Maryville จะไม่ได้มีสาขา Film โดยตรง จะมีแต่พวก art, theatre studies แต่เราก็ชอบ writing เหมือนกัน แล้วเห็น major นี้ก็เจาะมาด้าน communication แล้วก็คนที่อยากต่อ law school ตอน graduate ด้วย (คือเราไม่สนใจ law เราไม่ชอบ 555) ก็เลยเลือกสาขานี้ไปเพราะสายค่อนข้างกว้าง สามารถกลับไปทำพวก writing for film & tv production ได้ แถมได้เรียน creative arts อื่น ๆ ด้วย

🍦 สำหรับใครที่แพลนจะสมัคร full scholarship ของ Maryville College แล้วสนใจสายวิทย์ ๆ ก็จะมีพวก pre-med, biochemistry, biology, biopharmaceutical sciences หรือ pharmacy, environmental science, exercise science, nursing ด้วย แต่ถ้าใครไปสายแพทย์ ๆ (ที่อเมริกาตอนตรีจะเรียนสายวิทย์หรือ arts มาก็ได้ ให้ได้วุฒิป.ตรีก่อน 4 ปี แล้วค่อยต่อพวก med school/dental school อีก 4 ปี เท่ากับเรียน 8 ปีจ้า) ก็จะมีพวก pre-med, pre-dentistry, pre-vet, pre-physician assistant, pre-physical therapy, neuroscience ด้วย ส่วนใครสายจิตวิทยาก็จะมีพวก psychology, developmental psychology งี้ ใครไปสายคอมก็จะมี data analysis, computer science ด้วย สายศิลป์ก็หลากหลายอีก เช่น art, design, music, sociology คือ majors มันเยอะมากจริง ๆ ต้องไปดูเอาเอง 555

🍦 คือ majors และ minors ของ liberal arts college อย่าง MC คือมีเยอะมากคือมากกว่า 60 majors เลยอะ ในขณะที่ MUIC มีอยู่ 17 majors 5555 ใครสนใจจะดู majors & minors อื่นก็เข้าไปดูได้ที่ Maryville College programmes of study เลย ที่นี่ acceptance rate อยู่ที่ 55.6% น้า ถือว่าเป็น liberal arts college ที่มีชื่อเสียงพอสมควรเพราะก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1819 แล้ว (ก็คือ 200 กว่าปีโดยประมาณ) ติด Top 3 Best Regional Colleges South Rankings แล้วก็ติดอันดับ 2 ด้าน Best Undergraduate Teaching (regional colleges south) ที่จัดโดย US News

🍦 สำหรับเรื่อง financial aid ถ้าเป็นเด็กที่มีผลการเรียนดี ยังไงก็จะได้รับการตอบรับและ financial aid ตรงนี้อยู่แล้วจาก MC เอง สามารถเข้าไปดูตรงนี้ได้เลย เพราะว่าจะมีแยกเรื่อง scholarships สำหรับเด็ก first-year และ transfer อยู่แล้ว ที่สังเกตมาคือจำนวน financial aid น่าจะเพิ่งเปลี่ยนสำหรับปีการศึกษา 2022 นะ เพราะว่าตอนนั้นที่เราสมัครอะ เราได้ทุน international maryville college scholarship มูลค่า 21,000 USD/academic year แต่พอเราเข้าไปดูแต่กี้ ตอนนี้น่าจะเป็น MC honours scholarship ที่ให้ 20,000 USD/academic year แทนละ ก็คือถ้าเป็น transfer students (ขอเขียนเฉพาะ on-campus accommodation นะ เพราะเด็กต่างชาติต้องอยู่ student residence ของ MC) ทุนขั้นต่ำจะอยู่ที่ 17,000 ถึง 22,000 USD ต่อปี ส่วนถ้าของ first-year จะมีทุนเริ่มที่ 15,000-26,000 USD (ตัวทุนที่ 22,000-26,000 USD จะขอทั้งผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งคือ SAT (ขั้นต่ำ 1160 ถึง1390+ จาก 1600), ACT (ขั้นต่ำ 24 ถึง 30+ จาก 36) หรือ CLT (ขั้นต่ำ 76 ถึง 92+) และต้องพร้อม GPA ขั้นต่ำ 3.0+, 3.5+ หรือ 3.8+ เท่ากับว่าถ้าความสามารถถึงไหนและมีผลสอบอะไรบ้าง ก็จะสามารถยื่นขอทุนหรือ financial aid ได้เลย แต่ถ้าไม่มี ก็อาจจะต้องขอทุนตามที่น้อง ๆ มี test results จ้า

หน้าตาของ MVP Portal ที่ต้องเข้าไปสมัครผ่านระบบเอาเอง 📚

ถ้าใครเพิ่งเข้ามาใหม่ครั้งแรก ให้เลือก create an account ไปก่อน แต่ใครที่เคยสมัครแล้วก็จะเป็น returning users สามารถ log in เข้าไปได้เลยฮะ 🤘

พอคลิกเข้ามาก็จะเป็นหน้าตาแบบนี้ 🤩

ที่ของเรามันขึ้นเป็น 2 applications เพราะว่าตอนนั้นเราเคยจะสมัครตอนปี 2020 เลยเข้าไปกรอกไว้ แต่ว่า submitted ไม่ทัน (สมัคร 2 วันก่อนระบบปิด ละตอนนั้นคือไม่เคยเดินเรื่องขอเอกสารอะไรกับ MUIC ไว้เลย มันคงจะทันอยู่หรอก เอ้อ) แต่ของ u ในอเมริกาเขาจะไม่ลบใบ applications ทิ้งให้นะ มันก็จะค้างในระบบแบบนั้นถ้าเราใช้เมลอันเดียวกันอะ

เอกสารที่เราใช้ในการสมัคร Maryville College ทั้งหมด 📝

🔖 เอกสารที่เราใช้สำหรับการสมัครไปที่ Maryville College (เขียนไปด้านบนละ แต่เขียนอีกรอบ)

*ตรงนี้เป็นเพียงเอกสารในการสมัครเรียนหรือ regular application เท่านั้นนะ 🤘

- GDPR signed consent: เอกสารที่ต้องเซ็นให้ MC (ถ้าอายุ 18 แล้วเซ็นด้วยตัวเองได้เลย ไม่ต้องไปขอลายเซ็นผู้ปกครอง เพราะ 18 ของอเมริกาก็คือไม่ได้เป็น minor แล้วอะ)

- ผลสอบ GED ทั้ง transcript และ diploma: คือเรามีก็เลยยื่นเผื่อไป แต่ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องไปพยายามมีนะ 5555 เพราะจริง ๆ การให้ทุนเขาดูจากเกรดมากกว่า

- ผลการเรียนหรือ transcript ภาษาอังกฤษจากม.ปลายที่เรียนจบ: แต่เราแนบทั้ง diploma, transcript ภาษาอังกฤษไป

- ผลการเรียนในป.ตรี ที่ MUIC และสถานะนักศึกษาว่าเป็นนักศึกษาของที่นี่: ฉบับภาษาอังกฤษ

- ผลสอบวัดทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการหรือ IELTS academic: maryville กำหนดขั้นต่ำ overall 6.5 อย่างเดียว แล้วเราก็ได้ 6.5 พอดี ผลสอบต้องมีอายุอยู่นะ ปกติ IELTS และผลสอบภาษาอังกฤษอื่น จะมีอายุหรือ valid 2 ปีเท่านั้น

- หน้าพาสปอร์ตที่เป็นรูปเรา: ถ้าหน้าพาสหมดอายุแล้ว แนะนำให้แจ้ง advisor ไปก่อน แล้วเดี๋ยวเขาจะตอบมา แต่ของเราคือ advisor ให้เราแนบพาสที่หมดอายุไปได้เลย

- personal statement 1 หน้ากระดาษ A4: มันคือจดหมายแนะนำตัว (เรียกถูกไหมนะ) ว่าทำไมอยากเข้าเรียนที่นี่ (แต่ละปีหัวข้อคำถามจะต่างกันออกไป ตอนนั้นเราเขียนอะไรไปเราก็จำไม่ได้แล้ว) แต่เราคือเขียนเอง, วาง format เอง, proofread เองและก็ส่งเอง คนอื่นอาจจะชอบอิง format คนอื่นแต่อันนี้คือเราชอบเขียน by myself แบบ template อะไรเราก็ไม่ดูเลย เพราะตอนนั้นเราเรียน EC 2 เรื่อง project proposal, argumentative essay ด้วย ก็เลยเอาความรู้จากวิชา EC มาใช้แบบจัดเต็ม อิอิ อันนี้คือมี่ทำเองหมด ไม่ได้ให้ใครดูหรือใครอ่านอะไรของมี่เลย คิดเอง แพลนเอง เขียนเอง อ่านเอง ตรวจเอง ส่งเอง ทำเองหมด นักเลงพอ 555555

ปล. ถ้าระดับภาษาอังกฤษพอได้ แล้วทักษะการเขียนถือว่าไว้ใจตัวเองได้ เราแนะนำให้ทำเองทั้งหมดนะ วัด potential กันไปเลยว่ามันจะรอดไหม หรือ present ตัวเองได้ไหม

ปล. 2 แต่ถ้าน้องคนไหนเขียนเป็นภาษาอังกฤษเชิงกึ่ง personal กึ่ง academic ไม่เก่ง ไม่มั่นใจในสิ่งที่ตัวเองเขียน จะให้คนที่เก่งภาษาอังกฤษกว่า proofread ตัว personal statement ก็ได้นะ เพราะว่ามันก็ค่อนข้างจำกัดอะ 1 หน้ากระดาษ A4 คือต้องขายของ, สกิลหรือความสามารถตัวเองให้ได้ เขียนยังไงก็ได้ให้เขาอ่านจบแค่ 1 หน้ากระดาษ A4 แล้วเลือกเราอะ 😅 อย่าหาทำแบบเรา เพราะว่าถ้าน้อง ๆ ทำตรงนี้ได้ไม่ดีพอ มันจะไม่มี motivation ที่มากพอว่าทำไมเขาควรรับเราเข้าไปเรียนหรือให้ financial aid นะเออ

 

📑 มาต่อกันที่เอกสารสำหรับการสมัครทุน

International Diversity Scholarship (IDS Award) 🧫

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการสมัครทุน International Diversity Award ของ Maryville College 📑

🍦 ตัว IDS award (ย่อมาจาก international diversity scholarship นะ ขี้เกียจเขียนเต็มอะ ยาวเกิ๊น) 😂 เนี่ย ต้องกรอกข้อมูลหรือ submit เอกสารแยกออกมาอีกต่างหากจ้า แต่คือเราอะสมัครทุนนี้แต่เป็น transfer student ทาง advisor เลยพูดมาเลยว่า "เขา prioritise ให้สิทธิ์หรือ prefer เด็ก international first-year student มากกว่าเด็ก transfer นะ ถ้าหาจาก first-year ไม่ได้จริง ๆ เขาถึงจะมาดู transfer students" เราก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร ขอแค่ได้ gave it a try ก็พอ ก็เลยลองดู ไม่ซีเรียสอะไร เพราะได้หรือไม่ได้ ก็ไม่ได้เสียหายอะไรไง 😎

🍦 ส่วนเรื่องเอกสารที่สำคัญ สำหรับการสมัครทุน IDS ก็จะมีอยู่ 3 ตัวนั่นเอง ก็คือ

- Personal essay: ตัว essay ก็จะจำกัดขึ้นมาหน่อยคือ 300-500 words ถ้าจำไม่ผิดตอนนั้นเราเขียนไป 497 words อะ ตัวคำถามก็คืออยู่ข้างบนเลย คำตอบก็จะต้องตอบให้ครบทั้ง 3 dots ที่เขาถาม เพราะจำนวนคำมันจำกัดมาก 300-500 คำ คือต้องขายของแบบขายตรงอะ ไม่ต้องอ้อม เขียนแบบมั่นใจเลยว่าทำไมควรได้รับทุนนี้ มีความสามารถอะไร มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับ cultures หรือสามารถเป็น cultural ambassador ที่ดีได้ยังไง ที่เหลือก็คือคิดด้วยตัวเองเลยว่าจะทำยังไง จะตอบยังไงให้มันไม่เกิน words ตอบให้มันครบตามใจความที่เขาอยากได้ด้วย ✌️

- Résumé: จะเป็น activities, accomplishments หรือ awards ที่เคยได้รับมา จำกัดให้ส่งได้แค่ 1 หน้าเท่านั้น ของเราก็จะเป็นพวก clubs, activities ที่เคยทำทั้งในโรงเรียนและมหาลัย (เช่น president ชมรม, ทำด้าน pr ตั่ง ๆ) และก็ volunteer experiences ตั้งแต่ม.ปลายถึงมหาลัย ส่วน accomplishments เราก็จะเป็นพวก full/partial scholarships ที่มี่เคยรับมาทั้งในประเทศและนอกประเทศ อะไรงี้ แนว ๆ นี้แหละ เน้นคัดอันที่เด่น ๆ แล้วดูเตะตา outstanding น้า

- Recommendation letter (s): อันนี้เขาขอขั้นต่ำ 1 คน แต่มี่ขอมาจากอาจารย์ 2 คน คนนึงคือจากโรงเรียนเก่าที่สอนภาษาอังกฤษเรา เขาเห็นความ eager to learn ของเรามาโดยตลอด แต่คนนี้คือเขียนยาวมากแบบ 2 หน้ากระดาษ A4 เลยอะ และอีกคนนึงคืออาจารย์ที่ MUIC ที่เป็นช่างภาพชื่อดังคนนึงที่เป็น fujifilm presenter 55555 (ใบ้แค่นี้ต้องพอเดาออกบ้าง) เพราะว่าสนิทกับเขาด้วย แล้วชอบเมลคุยกับเขา แล้วเรียนวิชาเขาได้ A ตลอด คือจารย์คนนี้เห็นงานด้าน creative และ photography เรามาเยอะพอสมควร เป็นการสื่อสารแบบ visual communication แล้วเขาก็จะเห็นพวก motivation หรือ enthusiasm ของเราด้าน academic & creative performance มาพอสมควร จารย์ก็คือเขียนมาค่อนหน้ากระดาษ A4 แต่ช่วยเราขายของมากจริง ๆ ไม่รู้จะไปกราบขอบพระคุณอาจารย์ยังไงแล้ว 🙏🙏🥺🥺 เสียดายที่จารย์อ่านภาษาไทยไม่ออก 🥺

ด้วยความกลัวว่าทาง MC จะไม่ได้รับเอกสารที่เราแนบไปใน MVP เราเลยส่งไปย้ำใน google drive อีกที 555 😂

ที่ส่งไปคือเราแนบแต่พวกเอกสารสำหรับการสมัครทุน IDS นะ เอกสารที่เหลือยังผ่าน MVP อยู่จ้า ส่งไว้เพื่อความสบายใจของตัวเองไง 555

update ที่แจ้งเตือนมาในอีเมลของเรา 😍

ตอนนั้นส่งเอกสารทั้งหมดไป ก็รอจนลืม พอรอมา 1 เดือนเต็ม ๆ ก็มีอีเมลมาแจ้งเราพอดีฟีลว่า "เห้ยยย มี update มาแล้วนะตัวเธอ เข้าไปดู update ใน MVP portal ได้เลยนะจ๊ะ" มหาลัยในเมกาจะเป็นแบบนี้คือจะไม่ส่งเมลมาแบบ congratulations! ส่วนมากขั้นแรกคือต้องเข้าไปดู update ก่อนนะคะ ไหว้สาาาา ให้ลุ้นหวยตื่นเต้นเอาเองว่าได้หรือไม่ได้ 5555 อะ เข้าไปดูก็เข้าไปดู 😅

เข้าไปดูแล้ว คือเห็นตัว M หล่นลงมาก็คือดีใจไปเลยอะ มันจะเคลื่อนลงมาเหมือนเป็น feel congratulations!! 🥳

🍦 ที่มันเป็นชื่อ "Mie Dyasha" เพราะว่าทาง MC มีให้กรอก preferred name แล้วชื่อนี้คือเป็นทั้งนามปากกาเราและก็ preferred name ด้วย Mie นี่คือคนอเมริกัน (เช่น จารย์ที่ MUIC จะชอบเรียก) แต่ถ้าเป็นพวก eastern europe/russia/india จะเรียก Dyasha ซะมากกว่า แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนค่า ที่ต้องอธิบายเพราะคนไทยส่วนมากชอบเข้าใจผิด หาว่าดัดจริตบ้างแหละ ฉันถามจริงว่าใครอยากจะเรียกชื่อจริงยาว ๆ อะ แปลว่ายังไม่เคยเจอพวกต่างชาติ ที่อ่านชื่อไม่ออกแล้วพูดชื่อมั่ว ๆ ยาว ๆ แล้วขำใส่เธอล่ะสิ 55555 ใครจะมาด่าคนอื่นเรื่องมี preferred name ละคิดอยากจะไปต่างประเทศ ก็เปิดโลกตรงนี้ไว้หน่อยนะคะ the world doesn't revolve around you ค่ะ (ขอบ่นนิดนึง อิอิ)

🍦 ภาพนี้คือเป็น original version ที่ได้มาจากการ being accepted เลย แต่พอตอนหลัง เขาจะเปลี่ยนแบบใส่มูลค่าและชื่อทุนลงมาให้ด้วย

ตัวจดหมาย acceptance letter แบบที่เขียนมูลค่าและชื่อทุนไว้ใน offer ❤️

ถึงมี่จะไม่ได้ทุนเต็มจำนวน IDS แต่ว่ามี่ได้ International Maryville College Scholarship มาแทนค่ะ 🥳 คือได้ financial aid ช่วย 21,000 USD ต่อปีค่า 😊

ภาพที่แนบมาให้ดู 2 อันก็คือเป็นการแคปไฟล์ PDF acceptance letters มา คือตอนแรกเขาให้เรามาแบบเป็นภาพบนนะคะ แล้วหลังจากนั้นเขาก็แก้ไขมาเป็นแบบภาพล่างตอนหลังค่ะ 🎉

🙆🏻‍♀️ เพิ่มเติม tips เล็กน้อยสำหรับคนที่อยากเรียนต่ออเมริกาแต่เป็นมือใหม่ 
ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี มี่มีเทคนิคการค้นหาเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากกัน 📑
- ถ้าตั้งใจจะ apply ไปหลาย ๆ u ในอเมริกา มี่แนะนำให้ใช้ "Common App" (Common Application) เพราะหลาย u รับและไม่ต้องเสียเวลากรอกข้อมูลเดิม ๆ ซ้ำ แต่พวก personal statement, essay จะแตกต่างกันไปตาม requirement ของแต่ละ u ก็ต้องเขียนหรือ answer ผ่าน Common App กันไปน้า หรืออาจจะใช้ "Coalition App" ก็ได้ แต่ว่ามันส่งได้ไม่หลากหลาย u เท่าของ Common App จ้า เรื่องค่า application fee ก็แตกต่างกันไปตามแต่ละ u นะ เช่น free หรือ 50-200 USD แต่ส่วนมากเห็น app fee จะค้างอยู่ที่ 75 USD ซะมากกว่า (ติดไม่ติดก็คือ non-refundable นะ)
- ถ้าอยากหา scholarship หรือ financial aid ให้หา "ชื่อ u ที่อยากเข้า + scholarship/financial aid for international students" จริง ๆ ที่เราเคยดูมา ทุก u จะมีข้อมูลส่วนนี้เขียนไว้กันหมดเลย หาไม่ยากเลยจ้า แต่ก็จะมีบาง u ที่เขียนไว้เลยว่า "we do not offer any full scholarships for international students" ถ้าเป็นแบบนั้นก็คือพับไมค์เลย จบแล้ว บ่มีทุนเต็มให้เด็กต่างชาติ ไม่ต้องไปถามซ้ำ 5555
- เรื่องเอกสาร ถ้าไม่รู้ว่าจะต้องใช้อะไรบ้าง ก็แบบเดิม คือให้หา "ชื่อ u ที่อยากเข้า + admission(s) requirements" หรือ "ชื่อ u + undergraduate admissions for international students" (ถ้าเป็นนักศึกษาใหม่จะเรียน first-year แต่ถ้าจะโอนหน่วยกิต เขาเรียก transfer students) เช่น USC admission requirement เป็นต้น คลิกเข้าไปคือมีบอกทุกอย่าง แต่ถ้ามีคำถามที่อยากถาม admissions officer โดยตรง สามารถหาอีเมล (contact us) เพื่อติดต่อเขาไปแล้วอีเมลถามคำถามได้เลย แต่ควรศึกษาให้เข้าใจและทำการบ้านมาประมาณนึงก่อนนะ ไม่ใช่ส่งไปถามเลยแบบที่ถามข้อมูลที่มีอยู่หน้าเว็บน่ะ เรื่องระดับภาษาแนะนำให้ใช้ภาษาระดับ neutral หรือ formal ไปจะดีกว่า informal นะ แต่ส่วนตัวมี่เองปกติใช้ระดับ neutral แล้วเขียนอีเมลแบบ nice หน่อย เพราะเจ้าหน้าที่เหล่านี้เขาจะ friendly อยู่แล้วก็ด้วยเขาทำอาชีพเกี่ยวกับการติดต่อและให้ความช่วยเหลือเด็กต่างชาติแล้ว เขาก็เข้าใจว่าภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของเรา บวกกับถ้าจะเข้าเรียนจริง ๆ ยังไงก็ต้องติดต่อผ่านเขา มันเป็นงานของเขาที่ต้องทำ (แต่ควรจะ nice และ friendly กับเขานะคะ ไม่ใช่ไปเหวี่ยงเหมือนจิกหัวใช้จ้า) เพราะฉะนั้นไม่ต้องไป serious มากมาย เขาจะเป็นคน offer help ให้เราเองแต่เราก็ต้องขวนขวายด้วยตัวเองด้วย 😉 ส่วนเรื่อง standardised, english test นั้น ถ้าม.ดังมาก competitive สุด เช่น NYU งี้ ก็คือจะ declare แบบสวย ๆ อะว่า "We don’t have minimum score requirements, but competitive applicants will receive: IELTS Academic 7.5, TOEFL iBT 100 and above." โอเคค่ะคุณพี่ 😅
- อยากติดตามเรื่องทุนต่าง ๆ สามารถติดตามได้ที่ไหน? ปกติถ้าเป็นเว็บไทยที่เราเห็นว่าทำมาดีเลย ก็จะเป็น dek-d study abroad หรือว่าเด็กดีเรียนต่อนอก แต่ตัวทุนที่ทาง dek-d โพสต์ก็จะเป็นตัวทุนหลัก ๆ ซะมากกว่า เช่น ทุนรัฐบาล (ทั้งไทยและต่างประเทศ), ทุนมหาวิทยาลัยจากประเทศต่าง ๆ แต่ถ้าเป็นทุนที่หาจากภาษาอังกฤษ อันนี้ก็จะแล้วแต่ที่เพราะเราใช้หลายเว็บ (แบบมาก ๆ) อันนี้ต้องหาเองให้ชินก่อน ส่วนตัวเราหาทุนเรียนต่อมาตั้งแต่ม.2 แล้วเพิ่งมาชำนาญตอนม.4 หรือประมาณ 5-6 ปีแล้ว แล้วถ้า basic knowledge มันมากพอ มันจะมี intuition อะ ว่าควรอ่านอันไหน ดูอันไหนบ้าง 5555
- ถ้าไม่รู้จริง ๆ ก็ถามคนที่เขารู้ได้หรือมีข้อมูลได้ แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ แต่ไม่ใช่ไปถามเขาแบบ "พี่ อเมริกามีทุนเต็มไหมอะ" คือคำถามมันกว้างเกินใครจะไปตอบได้ว่าหาทุนหรือสาขาอะไรอะ? หรือ "พี่ หนูอยากเรียนต่ออังกฤษ ใช้เอกสารไรบ้าง ติดต่อใครดี" ไป google เลยค่า ข้อมูลมันมีไง มันไม่ได้หายากเลยค่า (digital media literacy และ online information searching ฝึกใช้แล้วคิดวิเคราะห์เอาเองเยอะ ๆ ฟังมาทั้ง 2 ด้าน ชั่งน้ำหนัก แล้ว decide เองเลยค่ะ) แล้วมาถามกันแบบนี้คือมันดูเหมือนอยากให้คนป้อนข้อมูลมากกว่าหาเอาเองอะ อันนี้ขอพูดตรง ๆ แบบโลกไม่สวยเลยนะ ว่า "ถ้าคิดจะเรียนต่อต่างประเทศ ควร research มาให้ดีกว่านี้นะคะ ข้อมูล basic ง่าย ๆ หาด้วยตัวเองก่อน พึ่งพาตัวเองก่อน อย่าคิดแต่จะให้คนอื่นป้อนให้หรือยืมจมูกคนอื่นหายใจอย่างเดียว เพราะไปต่างแดนมันไม่ได้มีคน get your back ตลอดเวลา จะเป็นจะตายยังไงต้องพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุดค่ะ independent strong (wo)man ค่ะคุณน้อง/คุณพี่/คุณเพื่อน" จากประสบการณ์ตรงของมี่เลยอะนะ คำถามที่ถามระหว่างคนที่ศึกษามาเองแล้วอยากหาคนคุยเพื่อเจาะข้อมูล insight หรือคนที่ทำการบ้านมาเองแล้วประมาณนึง กับคนที่รอให้คนอื่นมาป้อนข้อมูล มันจะชัดเจนมากตรงที่ความตื้นกับความลึกของคำถาม ถ้าจะมาถามเราตื้น ๆ แบบที่ยกตัวอย่างไปนั้น เราก็คงต้องพูดแบบตรงไปตรงมาว่า "ขอโทษนะคะ เราไม่ใช่ agent ส่งเด็กเรียนต่อค่ะ และการหาทุนหรือป้อนข้อมูลแบบ basic ให้คนนั้นคนนี้ มันไม่ใช่หน้าที่ของเรานะคะ เรามีการเรียน การงาน การใช้ชีวิตของเราที่ต้องจัดการตัวเองเหมือนกันค่ะ" ถ้าจะหาทุน ต้องหาเอง, be well-prepared และ ready to กระโดดหยิบโอกาสด้วยตัวเองค่ะ ไม่ใช่ไปขอให้คนอื่นเขาหยิบโอกาสให้แล้วส่งต่อให้คุณ อันนี้ขอร้องจริง ๆ นะว่าอย่าหาทำเลย

ตอนนี้นึกออกแค่นี้แหละ ถ้าอยากให้เขียนอะไรเพิ่มก็ dm ไปเพจเลย เดี๋ยวมาเขียนเพิ่มให้ 🙆🏻‍♀️

 

🇺🇸 สำหรับเรื่องการสมัครไปที่ university อย่าง The University of Idaho (UIdaho/U of I) หรือ liberal arts college เช่น Maryville College (MC/scots) แบบ transfer หรือว่าโอนหน่วยกิตจากมหาวิทยาลัยรัฐ หลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยไปที่อเมริกาของมี่ก็จบแล้วค่า หวังว่าจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยนะคะ ถ้ามีข้อมูลที่ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยล่วงหน้าด้วยค่า อาจจะมีเรื่องตัวอักษร capital letters บ้างไม่ cap บ้าง ขึ้นอยู่กับความขี้เกียจกด cap ของเราค่ะ 5555 😅


🙆🏻‍♀️ ถ้ามี่นึกอะไรออกก็อาจจะกลับมา edit โพสต์เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลให้ค่ะ แต่ถ้าข้อมูลอันไหนที่อาจจะเป็นด้าน negative แล้วอยากทราบจริง ๆ รบกวนส่งมาถามแบบ private message แทนจะดีกว่านะคะ


😊 สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจจะสมัครทุนเต็มจำนวนของ Maryville College แล้วอยากมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน, อยากเรียนต่อต่างประเทศ, อยาก transfer จากมหาลัยไทยไปต่างประเทศ หรือว่าผู้ปกครองท่านใดที่กำลังหาข้อมูลทั้งเรื่องโรงเรียนนานาชาติ (UK, American, IB curriculum), มหาวิทยาลัยหลักสูตรอินเตอร์ในประเทศไทย หรือว่ามหาวิทยาลัยในออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อังกฤษและอเมริกา ก็แวะเวียนมาคุยกับมี่ได้ค่า (แต่อาจตอบช้าบ้างน้า รอหน่อยนะคะ) 🙏

📥 สามารถติดต่อหามี่ผ่านทางช่องทางเหล่านี้ (ฝากกดไลก์หรือติดตามหน่อยค่าา) ได้เลยนะคะ:

- Direct Message (DM): หรือว่าหาสัญลักษณ์แชทสีชมพูและม่วงทางซ้ายของ website นี้ (เป็นเว็บของมี่เองโดยตรงค่ะ) แล้วทิ้ง message ได้เลยค่า

- FB: Mie as a media com student – ชีวิตมี่เมื่อเรียนมีเดียคอม (link)

- Instagram: Miedya_thetraveller

- Twitter: - mie dyasha - (@askmiedyasha)


ขอบคุณที่คอยติดตามและอ่านบล็อคนี้หรือบล็อคอื่น ๆ ของมี่จนจบด้วยค่ะ ขอปิดท้ายด้วยภาพสวย ๆ จาก Downtown ในเมือง Maryville, Knoxville และ Great Smoky Moutains ในรัฐ Tennessee

และ Sun Valley Resort, U of Idaho และ Latah County ในรัฐ Idaho ด้วยค่าาาา 🇺🇸

😊 ขอให้น้อง ๆ พี่ ๆ หรือเพื่อน ๆ ที่เข้ามาอ่านโชคดีค่า ❤️

 

Written: 7 Sep 2021, 21.21 or 9.21 PM, Indochina Time

Updated: 8 Sep 2021, 01.53 AM, Indochina Time

4,646 views
bottom of page